ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่) ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่)

Main Article Content

ประภัทสรณ์ ชำนาญเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาความผูกพันของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน. ประชากร คือ พนักงานบริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่) จำนวน 1,011 คน. โดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่, 1973 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 287 คน. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ประกอบด้วย สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การทดสอบที การทดสอบเอฟ และ   การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ.


ผลการวิจัยพบว่า


1) พนักงานที่มี อายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นของความผูกพันของพนักงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน. ส่วนพนักงานที่มี เพศ ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันของพนักงานโดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านความสำคัญของงาน ด้านความมีเอกลักษณ์ และด้านความหลากหลายของทักษะ ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน ร้อยละ 67.10 และ 3) พนักงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยประสบการณ์ทำงาน ด้านทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร ด้านความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์กร และด้านความพึ่งพาได้ขององค์กร ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน ร้อยละ 73.20.

Article Details

How to Cite
ชำนาญเวช ป. (2021). ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่): ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่). วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(1), 18–34. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/247811
บท
บทความวิจัย

References

ฐิติมา หลักทอง. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยาน ยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา

ทวีศักดิ์ รองแขวง. (2555). ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะงานกับแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานกรณีศึกษาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิชาเอกการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนรัฐ นาทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชชุพล สิงหะพล และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกรณีศึกษาโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์รีสอร์ท ภูเก็ต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. จังหวัดภูเก็ต.

ศราวุธ โภชนะสมบัติ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรสำนักงาน

ป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ศรีสุนันท์ วัฒนา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ศิลาพร กันทา และชมภูนุช หุ่นนาค. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(1) มกราคม-เมษายน.