การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ “สวอท-แรงกดดันทั้ง 5-ตารางกลยุทธ์ การเติบโต-โซ่คุณค่า” เพื่อออกแบบและพัฒนาแบบจำลองธุรกิจ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlsco.v10i2.267265คำสำคัญ:
เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ , แรงกดดันทั้ง 5 โซ่คุณค่า , แบบจำลองธุรกิจ , กลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย สวอท (SWOT)แรงกดดันทั้ง 5 ตารางกลยุทธ์การเติบโต และห่วงโซ่คุณค่า 2) ออกแบบและพัฒนาแบบจำลองธุรกิจ (Business model canvas: BMC) และ 3) วัดรายได้เพิ่มขึ้นของกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรี ชุมชนเอื้ออาทร ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวนำ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจ จำนวน 20 ครัวเรือน ร่วมกับการใช้แบบสอบถาม จำนวน 20 ชุด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สวอท (SWOT) แรงกดดันทั้งห้าโซ่คุณค่าและตารางกลยุทธ์การเติบโต (Ansoff matrix) จากนั้นนำข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบและพัฒนาเป็นแบบจำลองธุรกิจ (BMC) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรี ผลวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรี มีความชำนาญผลิตสินค้าได้อย่างประณีต พัฒนาแบบสินค้าให้ทันสมัยดีขึ้น สินค้ามีความหลากหลาย และตรงความต้องการของลูกค้า 2) ผลการวิเคราะห์เครื่องมือกลยุทธ์ทั้ง 4 ชนิดสามารถนำไปออกแบบแบบจำลองธุรกิจ (BMC) เพื่อใช้ดำเนินงานทางธุรกิจกับกลุ่มวิสาหกิจได้อย่างดี 3) ผลการวัดรายได้ของกลุ่มวิสาหกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 4,558 บาท/เดือน (17.57%) ดังนั้นประธานกลุ่มวิสาหกิจจึงควรนำแบบจำลอง BMC ไปปรับใช้กับกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาอาชีพสตรีให้ครบทั้ง 9 กิจกรรม ได้แก่ (1) กลุ่มลูกค้าคือ ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป (2) คุณค่าที่นำเสนอคือ มุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีความหลากหลาย เพิ่มความสะดวกสบายในชีวิต(3) ช่องทางเข้าถึงลูกค้าคือ สื่อสังคมออนไลน์และออกบูธกิจกรรมตามงานต่าง ๆ (4) สายสัมพันธ์กับลูกค้า คือ มีการติดตามผลลัพธ์จากลูกค้าและสร้างระบบสมาชิก (5) รูปแบบของรายได้คือ ขายส่งและขายปลีก (6) ทรัพยากรที่มีคือ พนักงาน อาคาร สำนักงานและเครื่องจักร (7) งานหลักที่ทำคือ เน้นงานฝีมือและความประณีต (8) พันธมิตรหลักคือ มูลนิธิชัยพัฒนา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและ (9) ต้นทุน คือ ควรมุ่งเน้นบริหารจัดการต้นทุนสินค้าที่ผลิตและต้นทุนค่าดำเนินงาน
References
การยางแห่งประเทศไทย. (2566). คู่มือการเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business model canvas). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองบริหารกองทุนและสินเชื่อ การยางแห่งประเทศไทย.
เขมิกา ธนธำรงกุล, ปรีดา ศรีนฤวรรณ ภูษณิศา เตชเถกิง และภัทริกา มณีพันธ์. (2563). โมเดลธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), 51-62.
จรินทร์ จารุเสน และธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2565). การบริหารช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าบนอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคอตตอนดีไซน์ จ.ปทุมธานี. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 160–174.
จริยา วังเสาร์. (2562). การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จิราพร เมืองพงษา. (2557). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการโชห่วยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส และสุขุมาล กล่ำแสงใส. (2563). การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหมู่บ้านทำมาค้าขาย: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 16(2), 1-21.
ธนภณ นิธิเชาวกุล. (2565). การวิเคราะห์ SWOT analysis กับสถิติ SWOT analysis with statistics.วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 18(1), 108-120.
นวัทตกร อุมาศิลป์ และตะวัน ตนยะแหละ. (2564). การพัฒนารูปแบบผ้าทอเกาะยอเชิงสร้างสรรค์: การพัฒนารูปแบบผ้าทอ เกาะยอเพื่อการสร้างตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ต้นแบบ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 529-543.
นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ. (2565). การจัดการห่วงโซ่คุณค่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(1), 136-146.
เมทิกา พ่วงแสง และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-66.
สุกัญญา พยุงสิน. (2565). การจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาช่อนแม่ลาของธุรกิจชุมชนกลุ่มผลิตปลาช่อนแม่ลา จ.สิงห์บุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(3), 133-148.
Ansoff, I. (1957). Strategies for diversification. Harvard Business Review, 35(5), 113-124.
Fritz, M. C. M., & Lara-Rodríguez, S. J. (2022). Mercury-free artisanal and small-scale gold mining: Proposing a community-business model canvas. The Extractive Industries and Society, 9(2022), 101039. https://doi.org/10.1016/j.exis.2021.101039.
Mouzas, S., & Bauer F. (2022). Rethinking business performance in global value chains. Journal of Business Research, 144(2022), 679–689. https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2022. 02.012.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York: The Free Press.
