บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlsco.v10i2.267259คำสำคัญ:
นวัตกรรมขององค์กร , ความผูกพันต่อองค์กร , การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว , คุณค่าแบรนด์ขององค์กร, ผลการดำเนินงานขององค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับนวัตกรรมขององค์กรความผูกพันต่อองค์กร การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว คุณค่าแบรนด์ขององค์กร และผลการดำเนินงานขององค์กร 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว และคุณค่าแบรนด์ขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับต้นขึ้นไปของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ จำนวน 303 ราย/บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก โมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องทางสถิติ c2/df =1.307, p =0.078, CFI =0.995, TLI =0.990, GFI =0.973, RMSEA =0.032, RMR =0.014 และมีความสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ นวัตกรรมขององค์กร และคุณค่าแบรนด์ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว และความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 นอกจากนี้นวัตกรรมขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และการจัดการโลจิสติกส์สีเขียว มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานผ่านคุณค่าแบรนด์ขององค์กรอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .001
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). รายชื่อธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ISO 2001. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก: https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1667.
ธนิต โสรัตน์. (2552). โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก: http://www. tanitsorat.com/view.php?id=352.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์. (2558). โลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,8(2), 12-21.
ลดาวรรณ สว่างอารมณ์. (2560). ปัจจัยที่มีเหตุและผลของความร่วมมือในโซ่อุปทานที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. (2564). ปริมาณการขนส่งภายในประเทศ. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก: https://datagov.mot.go.th/dataset/freight-dom/resource.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565, จาก: https://www.nesdc.go.th/main. php?filename=plan13.
Aaker, D. A. (1996). Measuring brand equity across products and markets. California Management Review, 38(3), 102-120.
Ajour El Zein, S., Consolacion-Segura, C., & Huertas-Garcia, R. (2020). The role of sustainability in brand equity value in the financial sector. Sustainability, 12(1), 254-272.
Bari, M. W., Abra, M., & Alaverdov, E. (Eds.). (2022). Antecedents and outcomes of employee-based brand equity. Hershey, PA: IGI Global.
Buchanan, B., II. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.
Choi, Y., & Zhang, N. (2011). Does proactive green logistics management improve performance? A case of Chinese logistics enterprises. African Journal of Business Management, 5(17), 7564-7574.
Devis, F. D., Goliac, L. S., & Marquardt, A. (2009). Measuring brand equity for logistics services. The International Logistics Management, 20(2), 201-212.
Drucker, P. F. (1994). Innovation and entrepreneurship: Practice and principle. London: Heinemann.
Geldes, C., Felzensztein, C., & Palacios-Fenech, J. (2017). Technological and non-technological innovations, performance and propensity to innovate across industries: The case of an emerging economy. Industrial Marketing Management, 61, 55-66.
Grant, D. B., Trautrims, A., & Wong, C. Y. (2017). Sustainable logistics and supply chain management: Principles and practices for sustainable operations and management. London: Kogan Page.
Hair, J. F., Black, W. C, Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. New York: Pearson.
He, Q., Guaita-Martinez, J. M., & Botella-Carrubi, D. (2020). How brand equity affects firm productivity: The role of R&D and human capital. Economic Research, 33(1), 2976-2992.
Kalender, Z. T., & Vayvay, O. (2016). The fifth pillar of the balanced scorecard: Sustainability. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 235, 76-83.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P., (1996). Using the balanced scorecard as a strategic management system. Harvard Business Review, 74(1), 75-85.
Labafi, S., Salamzadeh, Y., & Jalalpoor, M. (2019). Green supply-chain management and green purchase intention, the role of green brand-equity. The Proceedings of ICBSI 2018 International Conference on Business Sustainability and Innovation, 3 August 2019 at Graduate School of Business, Universiti Sains Malaysia, Penang, Malaysia, 23-33.
Li, Z. (2022). How organizations create employee-based brand equity: Mediating effects of of employee empowerment. Frontiers in Psychology, 13, 862678. https://doi:10.3389/ fpsyg.2022.862678.
Liu, Y., Kim, C. Y., Lee, E. H., & Yoo, J. W. (2022). Relationship between sustainable management activities and financial performance: Mediating effects of non-financial performance and moderating effects of institutional. Sustainability, 14(3), 1168.
Mckinnon, A., Cullinane, S., Browne, M., & Whiteing, A. (2010). Green logistics: Improving the environmental of logistics. London: Kogan Page.
Mutie, M. D., Odock, S., & Litondo, K. (2020). Effect of green logistics on performance of logistics firm in Kenya. DBA Africa Management Review, 10(4), 20-35.
Nana, S., Tobias-Mamina, R. J., Chiliya, N., & Maziriri, E. T. (2019). The impact of corporate rebranding on brand equity and firm performance. Journal of Business and Retail Management Research, 13(4), 93-102.
Osman, Z., Samad, R. R. Alwi, N. H., & Khan, B. N. A. (2022). Direct and indirect relationship of employee engagement, corporate image, employee loyalty and business performance among private business organizations. International Journal of Academic Research in Economics and Management Sciences, 11(3), 483-498.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G., (2016). A beginner’s guide to structural equation modelling. 4th ed. New York: Taylor & Francis.
Seggie, S. H., Kim, D., & Cavusgil, S. T. (2006). Do supply chain IT alignment and supply chain interfirm system integration impact upon brand equity and firm performance? Journal of Business Research, 59(8), 887-895.
Singhry, H. B. (2015). Supply chain innovation and performance of manufacturing companies. International Journal of Business and Management Review, 3(10), 42-60.
