การคัดเลือกดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสําหรับการตลาดขายตรงของเกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ด้วยวิธีกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlsco.v10i2.266815คำสำคัญ:
แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล, การวิเคราะห์เชิงลําดับชั้นแบบฟัซซี่, การทําการตลาดออนไลน์, ชมพู่ทับทิมจันทร์, กลยุทธ์การตลาดบทคัดย่อ
ภาคการเกษตรกําลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม ส่งผลให้ GDP. ภาคเกษตรกรรมแทบจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 9 ปี (2555-2564) รัฐบาลจึงออกนโยบายแนวคิดเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) มาช่วยเหลือเกษตรกร ดังนั้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาตามนโยบายของรัฐ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและคัดเลือกแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลที่เหมาะสม และเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพสําหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ในจังหวัดนครปฐม งานวิจัยนี้เป็นแบบผสมระหว่างวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสํารวจ การสัมภาษณ์ และการประเมินด้วยวิธีลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ (FAHP) โดยประชากรคือเกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 591 ครัวเรือน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยแบบทดสอบความเข้าใจพื้นฐานการตลาดดิจิทัล จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 95 คน โดยผู้ที่มีคะแนนผ่านตามเกณฑ์ในระดับพอใช้มีจํานวน 20 คน จะเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ผลการประเมินดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเพื่อการทํากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสําหรับกลุ่มเกษตรกร พบว่า ทางเลือกดิจิทัลแพลตฟอร์มถูกจัดลําดับจากอันดับแรกไปยังอันดับสุดท้ายได้แก่ สื่อสังคม (Social media) มาเป็นอันดับแรก (0.327) อีเมล (Email) มาเป็นอันดับที่สอง (0.264) เว็บไซต์ (Website) มาเป็นอันดับที่สาม (0.173) ช้อปปิ้งออนไลน์ (Online shopping) มาเป็นอันดับที่สี่ (0.139) และเครื่องกลสืบค้นข้อมูล (Search engine) มาเป็นอันดับที่ห้า (0.096) ในการนําแพลตฟอร์มดิจิทัลไปประยุกต์ใช้งานสําหรับการทํากลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้กลุ่มเกษตรกรเริ่มจากการใช้ Facebook แฟนเพจผสมผสานกับการใช้ Email เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย รวมถึงมีต้นทุนที่เกี่ยวข้องน้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตรออนไลน์. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2565,จาก: http://nonghan.udonthani.doae.go.th/010855.htm
ณัฐพร สว่างวงศ์สิน. (2555). การประยุกต์ใช้กระบวนการ AHP ในการประเมินผู้ขาย: กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีกสินค้ากลุ่มห้องนํ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล, วิภพ ทีมสุวรรณ และอุทัยวุฒิ ชํานาญแก้ว. (2561). ปฏิรูปเกษตรในไทย. การประชุมวิชาการด้านการชลประทานและการระบายนํ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 11, 292-303.
นิพนธ์ พัวพงศกร และกัมพล ปั้นตะกั่ว. (2566). การตั้งหลักใหม่ภาคเกษตรในอนาคต. กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).
ปฐมพงศ์ สุธารักษ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ที่ปลูกในจังหวัดสิงห์บุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฐการ บัวศรี และอิสริยณี ฤทธิมาศ. (2564). แนวทางส่งเสริมการตลาดออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษา มมร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(3), 22-32.
ศราวุธ ไชยธงรัตน์ และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2564). การประยุกต์ใช์กระบวนการวิเคราะห์เชิงลําดับชั้นในการคัดเลือกผู้ขายอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาบริษัทเอบีซี. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน,7(2), 5-17.
สมพงษ์ เหมบุตร. (2560). การศึกษาเกณฑ์การคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยั่งยืนของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ตามแนวทาง Triple bottom line (TBL). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสริมศิริ นิลดํา, กรกนก นิลดํา, กฤษณะ แสงจันทร์, อภิสรา กฤตวาณิชย์ และสาวิตรี พรหมสิทธิ์, (2563).การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(1), 217-238.
สุรชัย ศรีนวลจันทร์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเกษตร, 37(2), 177-185.
Bansod, S., & Kubde, R. (2012). The analytic hierarchy process based supplier selection approach for collaborative planning forecasting and replenishment systems.International Journal of Engineering Research & Technology, 1(7), 1-12.
Chang, D. Y. (1996). Applications of the extent analysis method on fuzzy AHP. European Journal of Operational Research, 95(3), 649–655.
Charlesworth, A. (2018). Digital marketing: A practical approach. 3rd ed. London. Routledge.
Cheng, C.-H., Yang, K.-L., & Hwang, C.-L. (1999) Evaluating attack helicopter by AHP based on linguistic variable weight. European Journal of Operational Research, 116(2),423-435.
Jitrawichawet, S., Sarfaraz, A., & Jenab, K. (2013). Reliability-based foreign supplier selection using fuzzy-AHP. International Journal of Applied Decision Sciences, 6(3), 245-262.
Kahraman, C. (Ed.). (2008). Fuzzy multi-criteria decision making: Theory and applications with recent developments (Vol. 16). Springer. https://link.springer.com/book/10.1007/978- 0-387-76813-7
Li, C., Solangi, Y. A., & Ali, S. (2023). Evaluating the factors of green finance to achieve carbon peak and carbon neutrality targets in China: A delphi and fuzzy AHP approach.Sustainability, 15(3), 2721.
Liu, Y., Eckert, C. M., & Earl, C. (2020). A review of fuzzy AHP methods for decision-making with subjective judgements. Expert Systems with Applications, 161, 113738.
Maity, B., Mallick, S. K., Das, P., & Rudra, S. (2022). Comparative analysis of groundwater potentiality zone using fuzzy AHP, frequency ratio and Bayesian weights of evidence methods. Applied Water Science, 12(4), 63.
Ocampo, L., Besabella, O., Fallore, M., Guinandal, A. R., Merabueno, A., Himang, C. M., &Yamagishi, K. (2021). An integrated AHP-TOPSIS for evaluating online marketing strategies for the hospitality industry. International Journal of Asian Business and Information Management, 12(3), 1-28.
Piya, S., Shamsuzzoha, A., Azizuddin, M., Al-Hinai, N., & Erdebilli, B. (2022). Integrated fuzzy AHP-TOPSIS method to analyze green management practice in hospitality industry in the sultanate of Oman. Sustainability, 14(3), 1118.
Rangaswamy, A., Moch, N., Felten, C., van Bruggen, G., Wieringa, J. E., & Wirtz, J. (2020).The role of marketing in digital business platforms. Journal of Interactive Marketing, 51(1), 72-90.
Ruoning, X., & Xiaoyan, Z. (1992). Extensions of the analytic hierarchy process in fuzzy environment. Fuzzy sets and Systems, 52(3), 251-257.
Saaty, T. L. (1980). The analytic hierarchy process: Planning, priority setting, resource allocation. New York: McGraw-Hill.
Şengül, Ü., & Eren, M. (2016). Selection of digital marketing tools using fuzzy AHP-fuzzy TOPSIS. In A. Kumar & M. Dash (Eds.), Fuzzy Optimization and Multi-Criteria Decision Making in Digital Marketing (pp. 97-126). IGI Global. https://doi.org/10.4018/978-1-4666-8808- 7.ch005
Singh, V., Kumar, V., & Singh, V. B. (2023). A hybrid novel fuzzy AHP-TOPSIS technique for selecting parameter-influencing testing in software development. Decision Analytics Journal, 6, 100159.
van Laarhoven, P. J. M., & Pedrycz, W. (1983). A fuzzy extension of Saaty’s priority theory. Fuzzy Sets and Systems, 11(1), 229-241.
Wang, Y. M., Luo, Y., & Hua, Z. (2008). On the extent analysis method for fuzzy AHP and its applications. European Journal of Operational Research, 186(2), 735-747
