ทักษะทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ สำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ขององค์กร

ผู้แต่ง

  • มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

ทักษะทรัพยากรมนุษย์, การเปลี่ยนแปลงธุรกิจ, การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กรธุรกิจ  และ 2) ศึกษาทักษะทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรธุรกิจต้องการเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารองค์กร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม ประชากรการวิจัย คือบริษัทธุรกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  แจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 8 กลุ่มอุตสาหกรรม (รวม 28 บริษัท 84 คน)  สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 คน เครื่องมือวิจัยสำหรับวิธีเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์และสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า แจกแบบสอบถามโดยพิมพ์กระดาษร่วมกับการแจกทางอีเมล  วิเคราะห์ข้อมูลวิธีเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  1) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กรธุรกิจ  พบว่า การเปลี่ยนธุรกิจ ที่สำคัญ 7 รูปแบบ โดยที่การเปลี่ยนแปลงลำดับที่ 7 คือ เปลี่ยนจากการแข่งขันแบบบริษัทเดี่ยวสู่การแข่งขันเครือข่าย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในยุคโซ่อุปทานสมัยใหม่ เพื่อความอยู่รอด และ 2) ทักษะทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรธุรกิจต้องการ  พบว่า การนำองค์กรไปสู่สิ่งใหม่จำเป็นต้องใช้ ทักษะทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ 11 ทักษะ โดยทักษะที่มีความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัว ความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัล และความสามารถในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ดังนั้น ข้อเสนอสำหรับผู้บริหารองค์กร คือ  (1) พนักงานเก่าที่องค์กรมีอยู่  จำเป็นจะต้องเพิ่มทักษะ ปรับปรุงทักษะ ให้มีศักยภาพสูงขึ้น ทำการตรวจสอบว่าจากทักษะพนักเก่า 11 ทักษะ พบว่าทักษะใดยังขาดอยู่บ้าง และ (2) พนักงานที่จะรับเข้ามาใหม่  ควรมีการสอบคัดเลือกเข้าทำงานทั้งการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้มั่นใจได้พนักงานใหม่ที่มีทักษะตรงกับที่องค์กรต้องการ และลดการลาออกหรือให้ออก เพราะจะกลายเป็นข้อมูลที่อาจย้อนกลับมาบั่นทอนชื่อเสียงขององค์กรด้วย

References

กรรนภัทร กันแก้ว และพงศภัค ตรีรัตนเศรษฐ์. (2563). วิวัฒนาการการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 15(2), 92-116.

กรมสุขภาพจิต. (2559). Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564. จาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251.

จำเนียร จวงตระกูล. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำประเทศไทยสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(1), 1-19.

ดวงใจ จันทร์ดาแสง, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวี และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2561). แนวทางการพัฒนาองค์การผ่านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสายสนับสนุนวิชาการเพื่อการรับการเป็นวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(4), 179-201.

ทองน้ำ วรมหัทธนกุล, กานต์จิรา ลิมศิริธง และบุรินทร์ สันติสาส์น. (2564). การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลต่อการพัฒนารูปแบบธุรกิจธนาคารในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(2), 147-157.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565, จาก: https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256301Conversation.aspx.

บริษัทแรบบิท แคร์ โบรคเกอร์ จำกัด. (2565). 11 Soft Skills ที่คนทำงานควรมีในปี 2022. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. จาก: https://rabbitcare.com/blog/others-category/partner/11-soft-skills.

บริษัทเซ็ทเทรดดอทคอม จำกัด. (2565). กลุ่ม/หมวดอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก: https://classic.settrade.com/C13_MarketSummary.jsp?detail=INDUSTRY.

พวงชมพู โจนส์. (2561). สังคมผู้สูงอายุ : โอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 1-6.

มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร์. (2562). การทำงานร่วมกับผู้จัดการชาวญี่ปุ่น: บนการบริหารความขัดแย้งและความแตกต่างทางวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารเซนต์จอห์น, 22(31), 175-191.

มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร์. (2560). ปรับแนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจ SMEs ของไทย: เสริมทัพกำลังสร้างความพร้อมก่อนแจ้งเกิดและคงอยู่ในตลาด. วารสารวิชาการเซนต์จอห์น, 20(26), 156-172.

วรรณชัย ธุระแพง, พิทักษ์ ศิริวงศ์ และวรรณสิริ ธุระแพง. (2564). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความได้เปรียบด้านต้นทุน: กรณีศึกษาธุรกิจแปรรูปอาหารในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(2), 81-96.

อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. (2564). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านงาน ความเครียดในการทำงาน ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(2), 122-135.

Bahuguna, P.C., Kumari, P., & Srivastava. (2009). Changing face of human resource management:A strategic partner in business. Management Insight. 5(2), 96-109.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Fducation (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Eric Frick. (2019). Information Technology Essentials Volume 1: Introduction to Information Systems. USA: Eric Frick 2017.

Lin, Y., Wang, Y. & Yu, C. (2010). Investigating the drivers of the innovation in channel integration and supply chain performance: A strategy orientated perspective. Int. J. Production Economics, 127, 320–332.

Natpatsaya Setthachotsombut. (2020). Road Transportation Management Potentiality Enhancement for Linking Special Economic Zones and Border Trade Activities in Mukdahan Province, Thailand. International Journal of Supply Chain Management (IJSCM), 9(6), 1425-1432.

Natpatsaya Setthachotsombut & Gritsada Sua-iam. (2020). The Resilience Development for the Entrepreneurs Tourism Sector (RDETS) from the 2019 Coronavirus crisis in Thailand, African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 9(2), 1-14.

Red Hat, Inc. (2022). What is digital transformation. Retrieved 15 January 2022, From: https://enterprisersproject.com/what-is-digital-transformation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-13