การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารศูนย์กระจายสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนอนแอลกอฮอล์ ศูนย์กลางวังน้อย จังหวัดอยุธยา
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlscc.v9i2.261220คำสำคัญ:
การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า, การบริหารศูนย์กระจายสินค้า, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารศูนย์กระจายสินค้าแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ที่มีต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานศูนย์กระจายสินค้า 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารศูนย์กระจายสินค้า และ 3) เพื่อเสนอวิธีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์กระจายสินค้า ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 223 คน จากประชากร 533 คน ในศูนย์กระจายสินค้าวังน้อย จังหวัดอยุธยา จาก 4 แผนก คือ แผนกคลังสินค้า แผนกขนส่ง แผนกสินค้าคงคลัง และแผนกวางแผนกลาง และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 78 ข้อคำถาม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบวา 1) อิทธิพลของการบริหารศูนย์กระจายสินค้าแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ ได้แก่ การรับสินค้า การบริหารพื้นที่จัดเก็บสินค้า การเบิกสินค้า มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานศูนย์กระจายสินค้า ขณะที่การจัดเก็บสินค้าและการจ่ายสินค้า นั้นกลับไม่มีผล 2) ระสิทธิภาพของการบริหารศูนย์กระจายสินค้า พบว่าเกิดจาก (2.1) วิธีการจัดการการเบิกสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น ในเอกสารใบเบิกสินค้าจะต้องระบุรายละเอียดสำคัญให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเบิกสินค้าไม่ตรงเงื่อนไข (เช่น อายุสินค้า ประเภทพาเลทที่รองสินค้า) (2.2) วิธีการจัดการการเก็บสินค้า ให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้พนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์ ที่เก็บสินค้าต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการทำงานเพื่อให้ข้อมูลสินค้าในโลเคชั่นถูกต้องกับระบบ (2.3) วิธีการจัดการการจ่ายสินค้า ให้มีประสิทธิภาพ เช่น กำหนดให้มีการตรวจสอบรายละเอียดที่ สำคัญของเอกสารให้ถูกต้อง ก่อนส่งมาให้พนักงานจ่ายสินค้า และ 3) เสนอวิธีการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์กระจายสินค้า คือ จะต้องกำหนดวิธีปฏิบัติงานในด้านการเบิกสินค้าก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นตามด้วยวิธีปฏิบัติงานด้านการเก็บสินค้า และการจ่ายสินค้า ตามลำดับ จะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์กระจายสินค้าในด้านความถูกต้อง ความตรงต่อเวลา ความพึงพอใจ ได้มากที่สุด
References
กฤชชัย อนรรฆมณี.(2563). ส่งมอบตรงเวลาและครบจำนวน ปัจจัยของการพัฒนาผลิตภาพ. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/124007.
คุณประโยชน์ อารีย์รัตนะนคร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Super trader republic. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2562). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าวกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านบุ่งหวาย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 13(1), 141-152.
จันทร์เพ็ญ อนุรัตนานนท์, ประจวบ กล่อมจิตร, ธนธร ชื่นยินดี และแพรวพรรณ ส่องสุขถวัลย์.(2562). การเพิ่มประสิทธิภาพคลังจัดเก็บสินค้าเครื่องดื่มกรณีศึกษา: บริษัทเครื่องดื่มตัวอย่าง. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 5(1), 49-58.
จรินทร์ อาสาทรงธรรม. (2555). โลจิสติกส์กับการจัดการคลังสินค้าที่ดี. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 32(1), 163-168.
ชวิศ บุญมี, ชมพูนุท เกษมเศรษฐ์, ปรีดา พิชยาพันธ์, พิมพสิริ โตวิจิตร, บุญทรัพย์ พานิชการและชนกานต์สมานมิตร. (2563). การวิเคราะห์และการออกแบบกิจกรรมโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าประมงในภาคเหนือประเทศไทย. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 14(1), 14-29.
ณภัสณรรฑ์ วงษ์สมาจารย์. (2560). การปรับปรุงแผนผังคลังสินค้าสำเร็จรูปเพื่อลดระยะทางรวมของการเคลื่อนไหวของสินค้า กรณีศึกษาโรงงานผลิตเหล็กหล่อ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์ และวริศรา งามบุญช่วย. (2561). การลดระยะเวลาในขั้นตอนการเบิกจ่ายสินค้าสำเร็จรูปภายในคลังสินค้ากรณีศึกษาบริษัทฮอลแลนด์สตาร์บรรจุภัณฑ์จำกัด. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561, วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, 467-475.
นลพรรณ บุญฤทธ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วน.จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประมวล พรมไพร, ฉัตรธาร ลิ้มอุปถัมภ์ และนัทธ์หทัย อือนอก. (2563). ปัจจัยในการจัดการคลังสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 17(2), 140-149.
รัญชนา สินธวาลัย, อัลฟาฮัด หะยีเตะ และตอฮา เตาวโต. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าตามระเบียบวิธี DMAIC. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 26(2), 96-109.
ศุจิกา บุญฤทธิ์. (2556). การจัดลำดับความสำคัญตัวชี้วัดประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยเทคนิคระดับชั้นเชิงวิเคราะห์ฟัซซี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุกฤษฎิ์ สารสุข. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการคลังสินค้า บริษัทอินทีเรียและซัมมิทประเทศไทย จำกัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1),126-140.
สุภาวิณี โสภิณ และศีขรินทร์ สุขโต. (2560). การเพิ่มกำลังการผลิตในการดำเนินการรับเข้าและส่งออกของคลังสินค้าเครื่องดื่มด้วยวิธีการปรับปรุงการดำเนินการขนถ่าย: กรณีศึกษาบริษัทกระจายสินค้าเครื่องดื่ม. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 17 ประจำปี 2560, วันที่ 19 ตุลาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา, 400-404.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2565, จาก:https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/.
โอฬาร กิตติธีรพรชัย. (2561). คลังสินค้าและการจัดการคลังสินค้า (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โอฬาร กิตติธีรพรชัย และนระเกณฑ์ พุ่มชูศรี. (2556). ระบบการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(2), 49-62.
