แบบจำลองการเข้าถึงข้อมูลในสื่อดิจิทัลเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้แต่ง

  • ปิยภา แดงเดช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (วิทยาเขตชลบุรี)

DOI:

https://doi.org/10.53848/jlscc.v9i2.260930

คำสำคัญ:

แบบจำลองการเข้าถึงข้อมูล, สื่อดิจิทัล, ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านการตอบสนองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของผู้ประกอบการ และ 3) สร้างแบบจำลองการเข้าถึงข้อมูลในสื่อดิจิทัลเพื่อการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ใช้การวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรการวิจัยคือกลุ่มผู้ประกอบการ SME จำนวน 199,127 ราย กลุ่มตัวอย่างในการแจกแบบสอบถาม จำนวน 400 ราย สัมภาษณ์ 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation model: SEM)  โดยนำผลที่ได้จากวิธีเชิงปริมาณมาสรุปเป็นแบบจำลองทางสถิติ และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อยืนยันแบบจำลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการตอบสนองของผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิต การรับรู้ข้อมูลทางการตลาด การรับรู้     แรงกดดันด้านการแข่งขัน ความตั้งใจ ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อ ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล ในระดับมาก  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้ประกอบการ SMEs  ได้แก่ รูปแบบการดำเนินชีวิต การรับรู้ข้อมูลทางการตลาด และการรับรู้แรงกดดันด้านการแข่งขันและ 3) แบบจำลองการเข้าถึงข้อมูลในสื่อดิจิทัลเพื่อการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ  พบว่าผู้ประกอบการมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์กรและลักษณะการนำเสนอผลงานต่อกลุ่มลูกค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรมีการศึกษาความพึงพอใจ ภาพลักษณ์ และทัศนคติของผู้ประกอบการ ที่มีต่อสื่อดิจิทัล มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ หรือศึกษาสื่อชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล จะเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจมีความทันสมัย มีสื่อในการทำตลาดครอบคลุมเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

References

ญาณกร วิภูสมิทธ์ และโมไนยพล รณเวช. (2559). การเปิดรับและพฤติกรรมการตอบสนองต่อโฆษณาทางยูทูบ (YouTube) ของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2555). ทฤษฎีองค์การฉบับแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิภาดา พิทยาวิรุฬห์. (2557). สื่อดิจิตอลที่มีอิทธิลพลต่อการตอบสนองของ ผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. วารสารบริหารธุรกิจ ศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1) , 80-96.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561, จาก : http://www.sme.go.th/th/index.php/data-alert/alert/report-smes-year/report-year/report-year.

อัศวนนท์ อู่สุวรรณ. (2554). พฤติกรรมการตอบสนองต่อการสื่อสารทางการตลาด (ไอดา โมเดล) ของผู้ใช้บริการ เอไอเอส ในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้ อิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Agarwal, A. (2009). Web 3.0 concepts explained in plain English. Retrieved 15 March 2021,From: http://www.labnol. org/internet/web-3 concepts-explained/8908.

Pittayaviroon, W & Kuris, N. (2014). Digital marketing influencing consumers’ response in approaching marketing informations. Srinakarinwirot Business Journal, 5(1), 80-96.

Zilincan, J. (2015). Search engine optimization, CBU international conference on innovation,technology transfer and education. Retrieved 15 March 2021, From: http://www.cbuic.cz/wpcontent/uploads/2014/12/Conference-Proceedings2015.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-21