การปรับปรุงตำแหน่งการวางสินค้าคงคลังโดยใช้โปรแกรมเชิงเส้นตรง: กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด

ผู้แต่ง

  • พรเกียรติ ภักดีวงศ์เทพ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรีชา วรารัตน์ไชย วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิศวะ อุนยะวงษ์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วราภรณ์ วิมุกตลพ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

โปรแกรมเชิงเส้นตรง, ตำแหน่งการวางสินค้า, การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตำแหน่งการวางสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา และ 2) เพื่อปรับปรุงตำแหน่งการวางสินค้าที่ทำให้มีระยะทางการเคลื่อนที่ของสินค้าเข้าออกรวมต่ำที่สุด พื้นที่ดำเนินการวิจัย คือ ร้านอะไหล่แต่งรถมอเตอร์ไซต์ บริษัท เอบีซี จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประชากร คือ จำนวนพนักงานทั้งหมด 42 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงาน 7 คน ของแผนกคลังสินค้า การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 178 รายการย่อย หรือคิดเป็น 35 รายการ โดยทำการวิเคราะห์ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเกณฑ์การจำแนกกลุ่มสินค้าตามหลักการวิเคราะห์แบบเอบีซี  (ABC Analysis)  2) วิเคราะห์การจัดกลุ่มสินค้าตามหลักการวิเคราะห์แบบเอบีซี 3) กำหนดรหัสตำแหน่งวางสินค้า 4) หาระยะทางจากหน้าประตูถึงตำแหน่งวางสินค้า 5) หาความถี่และจำนวนพาเลท 6) สร้างสมการคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปัญหาตามหลักการโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming)  7) แก้ปัญหาสมการคณิตศาสตร์ และ 8) เปรียบเทียบผลการจัดวางสินค้าแบบเดิมและแบบใหม่ ผลการวิจัย พบว่า สินค้าทั้งหมด 35 รายการ สามารถแบ่งกลุ่มเป็น  กลุ่ม A มี 6 รายการ กลุ่ม B มี 7 รายการ และกลุ่ม C มี 22 รายการ หลังจากนั้นสร้างสมการคณิตศาสตร์ มีสมการเป้าหมาย คือ ระยะทางการเคลื่อนที่ต่ำที่สุด โดยใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ระยะทางจากหน้าประตูถึงตำแหน่งวางสินค้า ความถี่ ความต้องการใช้พาเลท และข้อกำหนดต่างๆ แล้วใช้โปรแกรม Opensolver แก้สมการคณิตศาสตร์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ แผนผังตำแหน่งสินค้าก่อนปรับปรุง ใช้ระยะทางการเคลื่อนที่ของสินค้าเข้าออกทั้งหมด 495,632 เมตรต่อเดือน และแผนผังตำแหน่งสินค้าหลังปรับปรุง ใช้ระยะทางการเคลื่อนที่ของสินค้าเข้าออกทั้งหมด 475,504 เมตรต่อเดือน ดังนั้น สามารถลดระยะทางการเคลื่อนที่ของสินค้าเข้าออก 495,632-475,504 = 20,128 เมตรต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 16.24 และคิดเป็นเวลาที่ประหยัดได้ 469.65 นาทีต่อเดือน.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานติมา ศรีวัฒนะ. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารคลังยา โรงพยาบาลสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิติมา ไชยะกุล. (2558). หลักการผลิตและการดำเนินการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ณัฐพล กาจรจิรพันธ์ และรวินกานต์ ศรีนนท์. (2554). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ กรณีศึกษาบริษัท AA Steel (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ดลฤทธิ์ ซึ้งเสรีธรรม, ดิษย์ธวัช ขุนศักดา, พิษณุนาถ เจียรศิลปะดำรง, วสพล แก้วกาหลง, ศิวกร แก้วใส และ อภิญญา พงษ์ปรีชา. (2562). การวางแผนสั่งซื้อสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9, วันที่ 21 - 22 มิถุนายน 2562 ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 890-899.

ธนิษฐ์นันท์ จันทร์แย้ม และนภาพร อัครพิเชษฐ. (2562). การลดระยะเวลาในการจัดส่งอะไหล่โดยการปรับปรุงผังการจัดเก็บอะไหล่ กรณีศึกษา บริษัท เอวาย จำกัด. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562, วันที่ 30 มีนาคม 2562 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา, 232-251.

เมธินี ศรีกาญจน์ และชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์จำกัด (มหาชน) สาขาสุข. WMS Journal of Management Walailak University, 2(3), 8-20.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การบริหารการผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รชฏ ขำบุญ และผ่องใส เพ็ชรรักษ์. (2556). การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค.

วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร. (2560). การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2562, 4.

James, A. T., & Jerry, D. S. (1998). The Warehouse Management Handbook (2nd ed.). USA. Tompkins press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18