แนวทางการปรับปรุงซัพพลายเชนของพริกขี้หนูอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นัทธพงศ์ นันทสำเริง หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปวิณญดา บุญรมย์ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธนวัฒน์ ศรีโยหะ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กฤติภรณ์ สุพร หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เขมิกา มั่นคง หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • นิลวรรณ ชะลูด หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พริกขี้หนู, ซัพพลายเชน , อำเภอม่วงสามสิบ, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบซัพพลายเชนของพริกขี้หนูในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในซัพพลายเชนส่วนต้นน้ำและกลางน้ำของพริกขี้หนูในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี  ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพริก จำนวน 30 ราย และผู้รวบรวมพริกขี้หนูจำนวน 8 ราย จากประชากร 1,056 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทดสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการตรวจความเหมาะสมด้านภาษาและเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ  ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบซัพพลายเชนพริกขี้หนูในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยส่วนต้นน้ำคือเกษตรกร ส่วนกลางน้ำคือผู้รวบรวมพริกขี้หนู และส่วนปลายน้ำคือตลาดค้าส่งและค้าปลีกรวมถึงโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ 2) ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในซัพพลายเชนส่วนต้นน้ำและกลางน้ำของพริกขี้หนู พบว่าเป็นปัญหาด้านการวางแผนการผลิตและพยากรณ์ รวมถึงปัญหาต้นทุนของผู้รวบรวมพริกขี้หนู ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้รวบรวมโดยต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างกันให้มากขึ้น

References

ชยากร พุทธกําเนิด, นคร ไชยวงศ์ศักดา, ขวัญเรือน สินณรงค์, นิศารัตน์ ไชยวงศ์ศักดา, ธัญพร ฟุ้งเฟื่อง และสุทธดา ขัตติยะ. (2563). การจัดการการตลาด การผลิต และโซ่อุปทานการปลูกกล้วยหอมของกลุ่มเกษตรกร ป่าตึง - ริมกก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 6(2), 45-59.

ชัยวัฒน์ ใบไม้ และศิริรัตน์ ตรงวัฒนาวุฒิ. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงสีข้าวอินทรีย์ขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ จากการวิเคราะห์ด้วยตัวแบบ SCOR. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.13(1), 123-138.

ทิพวรรณ มานนท์, จินันทนา จอมดวง และอารยะ วรามิตร. (2554). กลยุทธ์ป้องกันกําจัดโรคแมลงศัตรูพริกโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม : เพื่อเพิ่มรายได้และความมั่นคงอาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(3) พิเศษ, 30-39.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29(2), 31-48.

พจน์ เดชเกิด และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2562). ความสูญเปล่าจากการไหลของข้อมูลสารสนเทศภายใต้ห่วง โซ่อุปทานในกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันและยางแผ่นรมควันอัดก้อน กรณีศึกษา สถาบันเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกสและซัพพลายเชน, 5(2), 4-18.

มลฑา สมบุญตนนท์, เออวดี เปรมัษเฐียร และกาญจนา ศรีพฤทธิ์เกียรติ. (2562). การดำเนินงานและส่วนเหลื่อมทางการตลาดของห่วงโซ่อุปทานผักไฮโดรโปนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(2), 147-161.

มลฤดี จันทรัตน์ และวิวัฒน์ ไม้แก่นสาร. (2562). การวิเคราะห์โซ่อุปทานส่วนต้นน้ำของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงด้วย SCOR Model. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 127-138.

มุกธิดา ขำมี และจีราพร ทิพย์พิลา. (2563). ผลการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริกบ้านนาเยีย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(1), 13-24.

ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง, เอกรัตน์ เอกศาสตร์, เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์การเกษตรพิมาย อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 7(1), 123-145.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และปรียากมล เอื้องอ้าย. (2562). แนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการซัพพลายเชนตามแบบจําลองอ้างอิงการดําเนินงานซัพพลายเชนกรณีศึกษาบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 89-102.

วัชรา จินตา และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมในการจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีสัญชาติพม่า กรณีศึกษาอําเภอแม่สอด จังหวัดตาก. Journal of Modern Learning Management, 6(2), 75-85.

วีรวัฒน์ คำภู และชาญชัย นามพล. (2563). การพัฒนาแอ็ปพลิเคชันการเปรียบเทียบราคาขายมันสำปะหลังต่อผู้รับซื้อในเขตอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 37-48.

เศรษฐภูมิ เถาชารี, พัฐสุดา ชูติกุลัง, จิรวัฒน์ ตั้งจิตโสมนัส, จิรวดี อินทกาญจน์ และกนกนาฏ หาญสิทธิพร. (2561). ผลการวัดประสิทธิภาพโซ่อุปทานข้าวแบบหลายวัตถุประสงค์ ในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 11(2), 25-40.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). ต้นทุนผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกพริกพื้นเมืองหัวเรือในเชิงเศรษฐกิจและสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(3), 169-185.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). ข้อมูลการผลิตพืชผัก พ.ศ.2563. อุบลราชธานี : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี.

Dissanayake, C. K., & Cross, J. A. (2018). Systematic mechanism for identifying the relative impact of supply chain performance areas on the overall supply chain performance using SCOR model and SEM. International Journal of Production Economics, 201, 102–115.

Koberg, E., & Longoni, A. (2019). A systematic review of sustainable supply chain management in global supply chains. Journal of Cleaner Production, 207, 1084–1098.

Lima-Junior, F. R., & Carpinetti, L. C. R. (2019). Predicting supply chain performance based on SCOR® metrics and multilayer perceptron neural networks. International Journal of Production Economics, 212, 19–38.

Müller, J. M. (2019). Contributions of Industry 4.0 to quality management - A SCOR perspective. IFAC-PapersOnLine, 52(13), 1236–1241.

Tridge. (2021). Chili pepper global production and top producing countries. Retrieved 5 April 2021, From: https://www.tridge.com/intelligences/other-chili-pepper/production.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18