การปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บและการหยิบเบิกสินค้าวางกองในคลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • วิญญู ปรอยกระโทก สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พงศธร คำควร สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดเก็บสินค้าและการหยิบสินค้า, สินค้าวางกอง, วิเคราะห์สินค้าคงคลังแบบเอบีซี, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานภายในคลังสินค้า 2) ปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บและหยิบเบิกสินค้าวางกอง (Block stacking) ในคลังสินค้าและ 3) เปรียบเทียบรูปแบบการจัดเก็บและหยิบเบิกสินค้าวางกอง (Block stacking) ในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาให้มีความเหมาะสม โดยทำการเก็บข้อมูลบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาสภาพปัญหาการทำงาน การเก็บข้อมูลพื้นที่คลังสินค้า ชนิด ประเภท ปริมาณสินค้าเข้า-ออก ความถี่ของการหยิบเบิกสินค้าในคลังสินค้า รูปแบบการจัดเก็บและหยิบ พนักงานคลังสินค้า อุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำแนวคิดการวิเคราะห์สินค้าคงคลังแบบ ABC (ABC Analysis) มาใช้ในการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บและการหยิบเบิกสินค้าวางกอง (Block stacking) 2 รูปแบบ คือ  1) การจัดตำแหน่งโดยอ้างอิงความถี่ในการหยิบเบิกสินค้า และ 2) การจัดตำแหน่งโดยการอ้างอิงความถี่เฉลี่ยในการหยิบเบิกและจ่ายสินค้า ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงตามตำแหน่งการจัดเก็บโดยอ้างอิงความถี่ในการหยิบเบิกสินค้า ระยะทางการหยิบเบิกรวมลดลงเหลือ 7,940.63 เมตร หรือ 7.94 กิโลเมตรต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 24.09 มีระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาลดลงต่อวันเหลือ 1 ชั่วโมง 52 นาที ต้นทุนค่าล่วงเวลาเท่ากับ 1,059.2 บาทต่อวัน หรือ 279,627.49 บาทต่อปี ผลการปรับปรุงตามตำแหน่งโดยการอ้างอิงความถี่เฉลี่ยในการหยิบเบิกและจ่ายสินค้า ระยะทางการหยิบเบิกรวมลดลงเหลือ 7,752.81 เมตร หรือ 7.75 กิโลเมตรต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.91 มีระยะเวลาการทำงานล่วงเวลาลดลงเหลือ 1 ชั่วโมง 40 นาที ต้นทุนค่าล่วงเวลาต่อวัน 925.3 บาท หรือคิดเป็น 244,280.51 บาทต่อปี

References

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). WIM การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC (ABC Analysis).

ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก: https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/249-abc-analysis-abc.

กิตตินาท นุ่นทอง, ภัทรพล ชุ่มมี และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2562). รูปแบบคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 18(2), 26-41.

ชัยชุมพล สิงสนอง และกาญจนา กาญจนสุนทร. (2563). ศึกษาทฤษฎี ABC Analysis เพื่อการปรับปรุง ปฏิบัติการและการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 18(1), 1157-1167.

ชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2550). การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ไชยยศ ไชยมั่นคง และมยุยพันธ์ ไชยมั่นคง. (2556). กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อแข่งขันในตลาดโลก (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: วิชั่น พรีเพรส.

เมธินี ศรีกาญจน์ และชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2556). การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษาศรีไทยซุปเปอร์แวร์จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2(3), 8-20.

รุธิร์ พยมยงค์ .(2559). ตำราการวัดประสิทธิภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร. (2560). การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC Analysis กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิริวัตน์ รุ่งมณีรัตน์. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า : กรณีศึกษาโรงงานผลิตสีผงอุตสาหกรรม. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2). 65-72.

James, A.T., & Jerry, D.S. (1998). The Warehouse Management Handbook. Tompkins press.

Stock, J.R. & Douglas M. Lambert. (2001). Strategic Logistics Management (4th ed). Burr Ridge,

IL: Irwin/McGraw-Hill.

Tompkims, A.J., & Smith, J.D. (1988). The warehouse management handbook. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-14