มิติของการเปลี่ยนแปลงของสายงานจัดซื้อในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ภันทิลา ขำวิจิตราภรณ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชุมพล มณฑาทิพย์กุล หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สง่า มณฑาทิพย์กุล หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ หาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

มิติของการเปลี่ยนแปลง, กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมยุคดิจิทัล, สายงานจัดซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงมิติของการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานจัดซื้อ ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มเข้าสู่ยุคดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในสายงานจัดซื้อในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุคดิจิทัล โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาผู้ผลิตเครื่องดื่มในประเทศไทย ซึ่งมี 461 ราย  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงงานเป้าหมาย 5 แห่ง การวิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งคำถามได้ถูกทวนสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) มิติของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1.1) ด้านกระบวนการทำงาน พบว่า จะเกิดกระบวนการทำงานแบบใหม่ อาทิ การจัดซื้อจัดหาออนไลน์ การประมูลสินค้าออนไลน์ การจัดทำสัญญาออนไลน์ (1.2) ด้านเทคโนโลยี พบว่า จะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ อาทิ เว็บแอพพลิเคชั่น แอพพลิเคชั่นบนมือถือ การสื่อสารหรือประชุมออนไลน์ การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลบนคลาวด์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (1.3) ด้านบุคลากร พบว่า ต้องการทักษะแบบใหม่และทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง และ 2) การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ได้แก่ (2.1) ด้านทักษะ พบว่า ทักษะที่จำเป็น อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร (2.2) ด้านภาษา พบว่า ภาษาต่างประเทศสำคัญ อาทิ อังกฤษ จีน (2.3) ด้านทัศนคติ พบว่า ทัศนคติเชิงบวกจะเป็นประโยชน์ อาทิ การคิดเชิงบวก การเรียนรู้สิ่งใหม่ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม  ดังนั้นองค์กรควรให้การสนับสนุนในด้านการฝึกอบรม การจัดหาเทคโนโลยีใหม่ การสื่อสาร และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2564). สถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (เปิดดำเนินการ) ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรม ณ สิ้นปี 2563. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก: https://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss64.

ถนัด แก้วเจริญไพศาล, บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และสมศักดิ์ ดำริชอบ. (2560). ความจำเป็นการพัฒนานักบริหารดิจิทัลเพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติในวาระครบรอบ 62 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, วันที่ 5 มิถุนายน 2560 ณ อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 145-168.

ธนาคารออมสิน. (2563). อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564, จาก: https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2021/01/IN_food_12_63.pdf.

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). (2562). Digital Transformation คืออะไร สำคัญอย่างไรกับธุรกิจและองค์กร. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก: https://www.tot.co.th.

บริษัท ริเวอร์พลัส จํากัด. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทย ปี 2019 - 2021. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://riverplus.com/beverage-industry-2019-2021.

พิชิต ขจรเดชะ. (2562). Future Skills: ทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์. วารสารการพิมพ์ไทย, 118, 2-3.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Beverage/IO/io-beverage-20-th.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ปี ’64 คาดแตะ 2 แสนล้านบาท เครื่องดื่มสุขภาพและตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มเติบโตดีกว่าตลาด. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564, จาก: https://kasikornresearch.com.

สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และโสภา ชปีลมันน์. (2554). ตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการปราบปรามของตำรวจนครบาล. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 7(2), 89-97.

สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย. (2564). บทบาทและหน้าที่ในงานจัดซื้อ. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก: http://pscmt.or.th.

อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ และธีราวรรณ จันทร์แสง. (2563). โลจิสติกส์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ยุค 4.0. WMS Journal of Management, 9(1), 118-129.

Chouhan, V.S., & Srivastava, S. (2014). Understanding Competencies and Competency Modeling – A Literature Survey. Journal of Business and Management, 16(1), 14-22.

Haseeb, M., Hussain, H.I., Slusarczyk, B., & Jermsittiparsert, K. (2019). Industry 4.0: A Solution toward Technology Challenges of Sustainable Business Performance. Social Sciences, 8(5), 154. https://doi.org/10.3390/socsci8050154.

Infor. (2017). How Process Manufacturers can Prepare for the Factory of the Future. Retrieved July 18, 2021, From: https://www.comactivity.com.au.

Leavitt, H. (1962). Applied organizational change in industry. Pittsburgh: Carnegie Institute of Technology, Graduate School of Industrial Administration.

Prodan, M., Prodan, A., & Purcarea, A. A. (2015). Three new dimensions to people, process, technology improvement model. In A. Rocha, A. M. Correia, S. Costanzo, & L. P. Reis (Eds.), New contributions in information systems and technologies advances in intelligent systems and computing, 353(481-490). London: Springer Link Publishing. doi:10.1007/978-3-319- 16486-1_47.

Vaidya, S., Ambad, P., & Bhosle, S. (2018). Industry 4.0 - A Glimpse. Procedia Manufacturing, 20, 233–238. https://doi.org/10.1016/j.promfg.2018.02.034

Weele, A.J.V. (2005). Purchasing & Supply Chain Management: Analysis, Strategy, Planning and Practice. 4th ed. London: Thomson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18