ความต้องการจองระวางของผู้ส่งออกอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง เพื่อพัฒนาระบบการจองตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็งแบบไม่เต็มตู้
คำสำคัญ:
การจองระวาง, อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง , การจองตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็งแบบไม่เต็มตู้บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจองระวางของผู้ส่งออกหารอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง และ 2) เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบการจองตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็งแบบไม่เต็มตู้ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ สัมภาษณ์ จำนวน 12 คน และแจกแบบสอบถาม จำนวน 393 คน เป็นผู้ให้บริการตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดกลางที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา IOC = 0.75 และค่าความเชื่อมั่น α = 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจองระวางของผู้ส่งออกหารอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง มีจำนวนผู้ประกอบการส่งออกอาหารปรุงสำเร็จรูปแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 60 รูปแบบการส่งออกที่ ทางเรือและทางอากาศ ปริมาณสินค้าที่ส่งออก มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2562 กับปี 2563 ความต้องการจองตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อปี 2563 มีการขนส่งทางเรือมีมากกว่าทางอากาศ 15% โดยหากมีการพัฒนาระบบการจองระวางแบบไม่เต็มตู้จะทำให้ค่าขนส่งลดลง และ 2) แนวทางการพัฒนาระบบการจองตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็งแบบไม่เต็มตู้ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ มี 3 ด้าน คือ 2.1) การรวบรวมของ คือ ทำการแนะนำบริการให้แก่ตัวแทนขนส่งสินค้าที่อยู่ในต่างประเทศมากที่สุด 2.2) การจัดพื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็ง คือ การจัดเรียงสินค้าให้ใช้พื้นที่ได้มากที่สุดทำให้ได้กำไรมากที่สุด และ 2.3) การจัดหาตำแหน่งห้องแช่แข็ง คือ คำนึงถึงปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์เช่นรถฟอร์คลิฟท์ แฮนด์ลิฟท์ แรงงานคนในการบรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น การนำผลวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือควรทำการพัฒนาระบบการจองตู้คอนเทนเนอร์แช่แข็งแบบไม่เต็มตู้ตามแนวทางทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าว
References
กาญจนา กระจ่างสุวรรณ, ณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2563). การพัฒนาทักษะบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของแผนกพิธีการศุลกากรขาเข้า บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย จํากัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 6(2), 5-18.
เกศกนก เชื้อมหาวัน. (2561). การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจโลจิสติกส์ไทยประเภทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 6(1), 26-39.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). โซ่ความเย็นในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Cold Chain). ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564, จาก: https://iok2u.com/index.php/article/logistics-supply-chain/292-food-cold-chain-2.
ณัฐวุฒิ วงษ์วรรณ, ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋องด้วยระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 126-140.
ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และประสิทธิ์ การนอก. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่คลังสินค้าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยแนวคิดเชิงบูรณาการ: กรณีศึกษา บริษัท โตไคริคะ (ไทยแลนด์) จํากัด. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 13(1), 127-140.
ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2559). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วิทยาลัยจัดการโลจิสติกส์.
ปรารถนา ปรารถนาดี และคณะ. (2559). โครงการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการระบบโซ่ความเย็น (Cold Chain) สำหรับภาคอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563, จาก: https://research.ac.th
ปริญญ์ สุรศักดิ์ศิลป (2555). การหาคำตอบเหมาะที่สุดในการจัดเรียงสินค้าเพื่อทำให้ต้นทุนการเช่าตู้คอนเทนเนอร์ต่ำที่สุด. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563, จาก: http://research.ku.ac.th
พีระพรรณ ภูมิดี, ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ และชณิชา หมอยาดี. (2563). การปรับปรุงการจัดเก็บและควบคุมสต็อกสินค้าแผนกฟู้ดของบริษัทท็อปส์มาร์เก็ต ด้วยแนวคิดลีนเพื่อลดการสูญเสีย. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 6(2),75-88.
รุจิรา เพียโคตร. (2561). การพยากรณ์ผลกระทบต่ออัตราค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางเรือ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563. จาก: http://www.mbaoneday-abstract.ru.ac.th/ .
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2563). สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563, จาก http://ictc.ops.moc.go.th
เศรษฐศาสตร์พาณิชยนาวี. (2557). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ (Transportations For International Trade) ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก: http://www.elcls.ssru.ac.th/bunyaporn_po/pluginfile.php/142/block_html/content/เอกสารประกอบการเรียนเศรษฐศาสตร์พาณิชยนาวี%20.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก: www.nesdc.go.th.
สลิสา พึ่งพุทธิกานต์, อดุลย์ นงภา และรพี อุดมทรัพย์. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการบรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ Local & Global Sustainability: Meeting the Challenges & Sharing the Solutions ครั้งที่ 9 ประจําป 2661, 1(9), 1290-1300.
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย. (2563). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก: www.thai-frozen.or.th
สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. (2563). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จาก: www.tiffathai.org
