การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋อง ด้วยระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ วงษ์วรรณ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพ, การจัดการคลังสินค้า, คลังสินค้าอัตโนมัติ , โรงงานทูน่ากระป๋อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้คลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋องแบบเดิม และนำมากำหนดความต้องการของระบบใหม่  2) เพื่อพัฒนาระบบคลังสินค้าอัตโนมัติและวัดผลประสิทธิภาพหลังการใช้งาน และ 3) เพื่อศึกษาผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างการใช้คลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋องแบบเดิมกับการใช้งานคลังสินค้าอัตโนมัติ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการแจกแบบสอบถามการวิจัยเป็นพนักงานแผนกคลังสินค้า แผนกปิดฉลาก แผนก  สโตร์แพคเกจจิ้ง และแผนกวางแผนโหลดสินค้ารวม 300 คน จากประชากรรวมทั้งหมด 756 คน ทดลองใช้ระบบจำนวน 756 คน  และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้งานคลังสินค้าอัตโนมัติ ด้านการลดต้นทุนสินค้า ลดลง 25,808,504 ล้านบาท จากเดิม 35,529,836 ล้านบาท  คิดเป็น 72.63% ด้านการลดพื้นที่ ลดลง 16,937.7 ตารางเมตร จากเดิม 21,354 ตารางเมตร  คิดเป็น 79.31% ด้านการลดเวลาจัดเก็บลดลง 5,372 ชั่วโมง/ปี คิดเป็น 100% เป็นการลดลงจากการยกเลิกการเช่าโกดังเก็บสินค้าทั้งหมด และการแสดงผลสถานะสินค้าลดลง 900 ชั่วโมง/ปี คิดเป็น 100% เป็นการลดลงจากการใช้ระบบแสดงผลแบบเรียลไทม์ไม่มีระยะเวลารอคอยแสดงผล ขณะที่ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ โรงงานทูน่ากระป๋อง มีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญในระดับมากเรียงตามลำดับคือ  ฟังก์ชันการรับ ฟังก์ชันการขนย้าย ฟังก์ชันการรายงานสถานะสินค้า และฟังก์ชันการจัดเก็บ  ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพหลังการใช้งานคลังสินค้าอัตโนมัติในด้านการลดเวลาจัดเก็บ การลดต้นทุนสินค้าจัดเก็บ การลดพื้นที่จัดเก็บ การแสดงผลสถานะสินค้าแบบเรียลไทม์ตามลำดับ

References

กิตติชัย อธิกุลรัตน์. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าด้วยการขนถ่ายวัสดุ. กรณีศึกษาโรงงานบรรจุนํ้ามันปาล์ม. วารสารวิจัยและพัฒนา, 41(2), 225-234.

จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การจัดการสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 226-241

ฐณวัฒน์ วุฒิอิสราพัชร์. (2563). การจัดการสินค้ายุคใหม่ให้แข็งแกร่ง. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก: https://www.aobrom.com/postdetail_2229.

ณัฐพล กาจรจิระพันธ์ และรวินกานต์ ศรีนนท์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัท AA Steel (ประเทศไทย) จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการ จัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นลพรรณ บุญฤทธ. (2558). ปัจจยัที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนิต โสรัตน์. (2562). การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก: http://www. tanitsorat.com.

ประพันธ์ พลาหาญ. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศ.วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปริญวัฒน์ บุญสิงห์. (2559). การออกแบบและสร้างต่้นแบบระบบจัดเก็บและค้นคืนอัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ปิยาภรณ์ อาสาทรงธรรม. (2554). การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์. ค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2564,

จาก: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/207.

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, 13(2), 1-8.

พีระพรรณ ภูมิดี, ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ และชณิชา หมอยาดี. (2563). การปรับปรุงการจัดเก็บและควบคุมสต็อกสินค้าแผนกฟู้ดของบริษัทท็อปส์มาร์เก็ต ด้วยแนวคิดลีนเพื่อลดการสูญเสีย. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 6(2), 75-88.

วิภาวดี วงศ์พุฒิเลิศ และวิชาญ เลิศลพ. (2559). การศึกษาแนวทางในการจัดการคลังสินค้า: กรณีศึกษา โรงผลิตนํ้าดื่ม ตรา เค.ซี.อาร์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 2(2), 29-37.

วราภรณ์ สารอินมูล. (2558). การศึกษาความพร้อมของพนักงานแผนกคลังสินค้ากับการใช้โปรแกรมระบบบริหารจัดการคลังสินค้า WMS. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 1(2), 74-82.

สุกฤษฎิ์ สารสุข และปริณภา จิตราภัณฑ์. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการคลังสินค้า บริษัท อินทีเรียและซัมมิท ประเทศไทย จํากัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 2(1), 1-11.

เสาวนีย์ ด้วงตัน. (2558 ). การลดต้นทุนการจัดการคลัง สินค้าด้วยระบบการจัดเก็บแบบเรียกคืนอัตโนมัติโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อลงกต ใหม่น้อย. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก: https://sites.google.com/site/mralongkotmainoy/kar-pheim-prasiththiphaph-khxng-Xngkhkar.

อรณิชา บุตรพรหม และมาริสา ป้อมบุบผา. (2561). FIFO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารและจัดการ, 8(1), 137-156.

อนุช นามภิญโญ. (2562). อิทธิพลของการจัดการลักษณะการกระจายสินค้าและประสิทธิภาพการบริการขนส่งสินค้าของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในเขตปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 5(1), 82-98.

ฮากัม มุสอดี. (2560). ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ AS/RS. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564, จาก: http://hakam046.blogspot.com/2017/09/asrs.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23