แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความได้เปรียบด้านต้นทุน: กรณีศึกษาธุรกิจแปรรูปอาหารในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ความสามารถด้านการแข่งขัน, ความได้เปรียบด้านต้นทุน, ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ และ 2) เพื่อศึกษาการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถทางด้านการแข่งขันในกรณีศึกษา ธุรกิจแปรรูปอาหารในจังหวัดสมุทรสาคร ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้เกี่ยวข้องในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้ใช้งานระบบ 4 คน ผู้วางระบบ 2 คน ผู้ดำเนินการก่อสร้าง 2 คน และช่างดูแลระบบ 2 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม รวมทั้งสังเกต บันทึกเสียง การวิเคราะห์เอกสารและศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาความตรงและความสอดคล้องเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ เช่น การเพิ่มทักษะ อบรม สาธิตกระบวนการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน จะช่วยลดต้นทุน ลดเวลา และเพิ่มสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อองค์กรมีต้นทุนต่ำลง เวลาการผลิตสั้นลง ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็วจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ว่าสินค้าที่ได้รับนั้นมีคุณภาพและตรงตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรควบคู่กับระบบคลังสินค้าอัตโนมัติที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
References
จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การจัดการสินค้าคงคลังอย่างมืออาชีพ. Veridian E Journal, 1(1), 226-241.
ณัฐวุฒิ วงษ์วรรณ, ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการคลังสินค้าโรงงานทูน่ากระป๋องด้วยระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 126-140.
ดีอนันต์ บุญสิมะ. (2557). การบริการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กเส้นไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 2(2), 107-113.
วัชระ วัธนารวี และภูมิพัฒน์ มิ่งมาลัยรักษ์. (2561). การสังเคราะห์องค์ความรู้ในด้านความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการค้าชายแดน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ, 14(1), 49-71.
นฤดม เจริญพานิช. (2556). ศึกษาแนวโน้มการเลือกใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ กรณีศึกษา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. คณะเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2559). กลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 36(1), 196-208.
ปรีดาพร คณทา และดารารัตน์ อินทร์คุ้ม. (2559). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แนวคิดใหม่. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ,1(1), 62-70.
ปัญ์ญจทรัพย์ ปัญญาไว และรวิพรรณ สุภาวรรณ์. (2559). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี และประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้บริการ Pre-order เครื่องสำอางผ่านทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 1(1), 32-40.
ปราโมทย์ ลือนาม. (2554). แนวความคิด และการวิวัฒนาการของแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี.วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 9-16.
พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2561). การปฏิบัติการภายใต้การจัดการโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออกอาหารในประเทศไทย. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 152-165.
พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้การบูรณาการแนวคิดเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 1-16.
ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2562). การใช้ระบบอัตโนมัติและทักษะแรงงานที่จำเป็นสำหรับซัพพลายเออร์ไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27(2), 1-26.
วสุธิดา นักเกษม และธีระวัฒน์ จันทึก. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาลัยศิลปากร, 12(2), 1075-1097.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2560). แนวโน้มความท้าทายในสายงาน HR ยุคใหม่,. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก: https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1364: hr&catid=29&Itemid=180&lang=en
สุชน ทิพย์ทิพากร จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วารสารบัณฑิตศึกษา,11(2), 251-260.
สมคิด ผลนิล และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมกรณีศึกษากรมอุทยานแห่งชาติ. วารสารศิลปศาสตร์, 12(2), 109-134.
Anas M. Atieh, Hazem Kaylani, Yousef Al-abdallat, Abeer Qaderi, Luma Ghoul, Lina Jaradat &Iman Hdairis. (2016). Performance improvement of inventory, management system processes by an automated warehouse management system. Procedia CIRP. 568-572.
Battour, M., Barahma, M., & Al-Awlaqi, M. (2021). The Relationship between HRM Strategies and Sustainable Competitive Advantage: Testing the Mediating Role of Strategic Agility. Sustainability, 13(9), 5315.
Bozer, Y. A., & White, J.A. (1984). Travel-time models for automated storage/retrieval systems. IEE Transactions.
Davis, F., Bagozzi, R., & Warshaw, P. (1989). User Acceptance of Computer Technology: a Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 982-1003.
Donald S. Siegel, David A. Waldman, & William E. Youngdahl. (1997). The Adoption of Advanced Manufacturing Technologies: Human Resource Management Implications. IEEE Transactions on Engineering Management, 44(3), 288-298.
Douglas, M.L., (1975). The Development of Inventory Costing Methodology: A Study of the CostAssociated with Holding Inventory. Chicago: NationalCouncil of Physical.
Fabrizio Dallari, Gino Marchet & Remigio Ruggeri. (2015). Optimisation of man-on-board automated storage/retrieval systems. Integrated Manufacring System, 11(2), 87-93.
Fukitkan, C. (2013). The Process of Strategic Human Recourse Development. Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1), 33-45.
Hanan, M., Kharia, A., & Abdulmuttalib, T. (2019). The Automatic Storage and Retrieval System: An Overview. International Journal of Computer Applications, 177, 36-43.
Jenbunjerd. (2020). กฎเหล็ก 5 ข้อที่ควรรู้เพื่อประโยชน์จากการลงทุนในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ,. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2564 จาก: https://www.jenbunjerd.com/blog/5-กฎเหล็ก-ก่อนการลงทุนในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ-46.html
Kamila Kluska (2021). Automatic simulation modelling of warehouses. Logforum 17(1), 5. DOI: 10.17270/J.LOG.2021.547
Kulwiec, R. (2007). RELIABILITY OF AUTOMATED STORAGE AND RETRIEVAL SYSTEMS ( AS / RS ) A WHITE.
Lewczuk, K., Kłodawski, M., & Gepner, P. (2021). Energy Consumption in a Distributional Warehouse: A Practical Case Study for Different Warehouse Technologies. Energies, 14(9), 2709. MDPI AG. Retrieved from http://dx.doi.org/10.3390/en14092709.
Lee H.F., & Schaefer S.K. (1996). Retrieval sequencing for unit-load automated storage and retrival system with multiple openings. International Journal of Production research, 34(10), 2943-2962.
Marquardt M.J. (1999). Action learning in action: Transforming problems and propel for world-class organization learning. Palo Alto: Davies-Black.
McClelland, D.C., (1975). A Competency model for human resource management specialists to Be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.
Nadler, L. & Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. San Francisco, California: Jossey-Bass.
Ramaa,A.,K.N. Subramanya, & T. M. Rangaswamy. (2012). Impact of Warehouse Management System in a Supply Chain. International Journal of Computer Applications, 54(1), 14–20.
Velikorosov, V. V., Filin, S. A., Genkin, E. V., Maksimov, M. I., Krasilnikova, M. A. & Rakauskiyene, O.G.. (2020). HR Systems as a New Method for the Automatization of Business Processes in Organization. 2020 The 2nd International Conference on Pedagogy, Communication and Sociology, 415-418.
