การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงนโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง
คำสำคัญ:
การลดต้นทุน, การบริหารสินค้าคงคลัง, อีพอกซี่โมลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการลดต้นทุนสินค้าคงคลังของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทกรณีศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการปรับปรุงการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง และการปรับปรุงนโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับแก้ปัญหาต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังสูงและที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิต ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์แก้ปัญหาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาปริมาณวัตถุดิบคงคลังไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้ ทำการเลือกวัตถุดิบหลักประเภทอีพอกซี่โมล (Epoxy mold) มาทำการวิเคราะห์แก้ไขเป็นอันดับแรกตามความต้องการเร่งด่วนและเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีปัญหามากที่สุดเพราะวัตถุดิบประเภทนี้ต้องนำเข้าและมีช่วงเวลานำ (lead time) ที่นานและแปรผัน โดย Epoxy mold มีทั้งหมด 35 รายการ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ABC classification system ตามหลักการแบ่งกลุ่ม หลังจากนั้นจึงใช้โปรแกรม Minitab (education version) เพื่อทำการพยากรณ์และ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลยอดการใช้ของ Epoxy mold ของบริษัทกรณีศึกษาตั้งแต่เดือน มกราคม 2560 - ธันวาคม 2563 และการหาจุดสั่งซื้อใหม่ ผลการวิจัย พบว่า การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยการใช้นโยบายใหม่คือเมื่อถึงจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder point: ROP หรือ Min) ให้สั่งซื้อเพื่อเติมเต็ม จนถึงระดับที่กำหนด (Max) จะช่วยประหยัดต้นทุนรวมวัตถุดิบคงคลังลง 5,191,643 บาท/ปี สำหรับวัตถุดิบประเภท A ทุกรายการ เมื่อเทียบกับนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังแบบเก่า บริษัทกรณีศึกษาสามารถที่จะขยายผลเพื่อครอบคลุมสินค้าประเภทอื่นและสามารถนำจุดสั่งซื้อและปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมที่เป็นผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้ ไปใช้เป็นเงื่อนไขเริ่มต้นสำหรับการปรับนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบประเภท A ไปเป็นการจัดการสินค้าคงคลังโดยผู้จัดหา (VMI) อย่างที่วางแผนไว้ในอนาคตอันใกล้
References
กึกก้อง กล่อมวิสุทธิ์ และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2555). การประยุกต์ใช้ระบบบริหารวัสดุคงคลังโดยผู้ส่งมอบสำหรับโรงงานผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 102-114
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การจัดการต้นทุนคลังสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การจัดการสินค้าคงคลัง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
ณัฏภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและโซ่คุณค่า. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 3(1), 4-15.
ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ และประสิทธิ์ การนอก. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพื้นที่คลังสินค้าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยแนวคิดเชิงบูรณาการ: กรณีศึกษาบริษัท โตไคริคะ (ไทยแลนด์) จํากัด. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 13(1), 127-140.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2553). สถิติบรรยายและสถิติพาราเมตริก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธิดา ฉานแสงทอง และสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์. (2560). ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมของสินค้าที่ทดแทนกันได้. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39(4), 105-126.
บุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ. (2562). การลดต้นทุนและรักษาระดับการให้บริการในการจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบการตรวจสอบตามรอบ กรณีศึกษา บริษัทธุรกิจค้าปลีก. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 51-71.
พีระพรรณ ภูมิดี, ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ และ ชณิชา หมอยาดี. (2563). การปรับปรุงการจัดเก็บและควบคุมสต็อกสินค้าแผนกฟู้ดของบริษัทท็อปส์มาร์เก็ต ด้วยแนวคิดลีนเพื่อลดการสูญเสีย. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 6(2),75-88.
เพ็ญภัทร์ อารี และนระเกณฑ์ พุ่มชูศรี. (2558). การวางแผนการผลิตสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความต้องการสินค้าไม่แน่นอน. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 26(3), 71-79.
วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร และชยกฤต เจริญศิริวัฒน์. (2560 ). การประยุกต์ใช้ระบบบริหารสินค้าคงคลังสำหรับวัตถุดิบที่เน่าเสียได้ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตปลากระป๋อง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19(4), 15-29.
วัลลภ ภูผา. (2557). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม กรณีศึกษาการจัดซื้อวัตถุดิบในโรงงานผลิตอาหารแปรรูป. วิศวกรรมสาร มก, 88(27), 41-56.
แสงระวี รุ่งวิถี และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2560). แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังของร้านขายยา CDE ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 11(5), 46-62.
สายน้ำ ฤทธิ์อิ่ม และอรอุไร แสงสว่าง. (2556 ). นโยบายการควบคุมสินค้าคงคลังโดยการใช้คำสั่งซื้อแบบถาวร : กรณีศึกษา. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 9(3), 105-117.
อร่าม พิมพ์ผกา, ศักดิ์ชาย รักการ, ปพน สีหอมชัย และอนัญญา จินดาวัฒนะ. (2557). การลดต้นทุนสินค้าคงคลัง:กรณีศึกษา บริษัทติดตั้งและจำหน่ายระบบดับเพลิง. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 4(2), 1-11.
Bain & Company. (2011). Inventory management: 10 questions to diagnose your inventory Health, Retrieved 15 March 2019, from: www.bain.com/publications/articles/
inventory-management-10-questions-inventory-health.aspx.
Bensoussan, A., Çakanyildirim, M., Li, M., & Sethi, S.P. (2016). Managing inventory with cash register information: Sales recorded but not demands. Production and Operations Management, 25(1), 9–21.
Calli, M.K., & Weverbergh, M. (2009). Forecasting newspaper demand with censored regression. Journal of the Operational Research Society, 60(7), 944–951.
Chen, L. (2010). Bounds and heuristics for optimal Bayesian inventory control with unobserved lost sales. Operations Research, 58(2), 396–413.
Investopedia. (2021). Economic Order Quantity (EOQ). Retrieved 22 April 2021,From:https://www.investopedia.com/terms/e/economicorderquantity.asp
#:~:text=Economic%20order%20quantity%20(EOQ)%20is,in%201913%20by%20Ford%20W.
Ramanathan, U., & Muyldermans, L. (2010). Identifying demand factors for promotional planning and forecasting: A case of a soft drink company in the UK. International Journal of Production Economics, 128(2), 538–545.
Sachs, A.-L., & Minner, S. (2014). The data-driven newsvendor with censored de- mand observations. International Journal of Production Economics, 149, 28–36 .
