การพัฒนาทักษะบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของแผนกพิธีการศุลกากรขาเข้า บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของแผนกพิธีการศุลกากรขาเข้า และ 2) เพื่อวัดการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแผนก โดยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantities Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรเป็นพนักงานแผนกพิธีการศุลกากรขาเข้า บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มตัวอย่างในการแจกแบบสอบถาม 75 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทักษะบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของแผนกดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า พบขั้นตอนปฏิบัติงานที่จำเป็นสำหรับแผนก ได้แก่ 1) การประสานงานลูกค้าเมื่อเกิดปัญหา ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.09 2) การแก้ปัญหาการจับยึดสินค้า (การบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่ม) ค่าเฉลี่ยมาก 3.63 3) การคีย์พิกัดขาเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ ค่าเฉลี่ยมาก 3.52 4) กฎระเบียบ-การปฏิบัติงาน และการประเมินผล ค่าเฉลี่ยมาก 3.50 และ 5) การเพิ่มองค์ความรู้พิกัดศุลกากร ค่าเฉลี่ยปานกลาง 3.43 ซึ่งวิธีปฏิบัติเหล่านี้ ส่งผลดีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแผนกพิธีการศุลกากรขาเข้า ในด้าน 1) การลดค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการถูกจับ ค่าเฉลี่ยมาก 4.45 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.55 3) การลดการจับยึด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.51 4) การลดข้อผิดพลาด ค่าเฉลี่ยปานกลาง 4.10 และ 5) ความรวดเร็ว ค่าเฉลี่ยมาก 3.79 ดังนั้น บริษัทควรนำวิธีการปฏิบัติใหม่เหล่านี้ไปใช้เพื่อปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน ดังเช่น การประสานงานลูกค้าเมื่อเกิดปัญหา ให้ทำการขอข้อมูลจากลูกค้าเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่ถูกต้อง และป้องกันการเกิดความผิดพลาดซ้ำ ขณะที่ การแก้ปัญหาการจับยึดสินค้า กรณีเกิดการจับยึดสินค้าจำนวนมากขึ้นต้องจัดอบรมเพื่ออัพเดตพิกัด อีกครั้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
References
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทวีพริ้นท์ จำกัด.
จักรพงษ์ เจริญวงศ์ใหญ่. (2559). การลดความผิดพลาดของกระบวนการทำงาน กรณีศึกษาบริษัท JK Banking จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจกลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยธุยา: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยธุยา.
ณัฏภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในโลจิสติกส์โซ่อุปทานและโซ่คุณค่า. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. 3(1), 4-15.
ธาดา รัชกิจ. (2563). การบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก th.hrnote.asia/
orgdevelopment/190114-th-talentmanagement/
รัชนีพร นาพุทธา. (2549). ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมและประสิทธิภาพของการฝึกอบรมบริษัท ปูนซิเมนต์
ไทยอุตสาหกรรม จํากัด กรณีศึกษา : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จํากัด. ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนาภรณ์ บุญนุช. (2555). การพัฒนาและฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงาน: กรณีศึกษา การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค เขต 1(ภาคกลาง). ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=9004.
ลาภา องค์ทวีเกียรติ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2560). ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน) ในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 12 ปีการศึกษา 2560 บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรังสิต (The 12th RSU National Graduate Research Conference/ Business Administration and Management, วันที่ 17 สิงหาคม 2560, 320-332.
วรรณชัย เจริญศรี. (2562). พัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงาน. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563. จาก: https://th.jobsdb.com/th-th/th-th/articles/ข้อผิดพลาดพัฒนาทำงาน.
ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อการพัฒนาผลงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
สิริวดี ชูเชิด. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563. จาก: http://www. thailandin dustry.com/onlinemag/view2.php?id=771.
สำนักงานศุลกากร. (2563). พิธีการศุลกากรนำของเข้า. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563. จาก: http://www.customs. go.th/cont_strc_simple. php?xleft_menu=menu_business.
DHL International GmbH. (2019). DHL Express Head Office: Thailand. Retrieved 2 June 2020, From: http://www.dhl.co.th/en/country_profile/office_express.html
