การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการคลังสินค้า: กรณีศึกษาคลังสินค้ารองเท้ามือสอง

ผู้แต่ง

  • สำราญ ชำโสม สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการในคลังสินค้า , การลดระยะเวลาการค้นหาสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้า 2) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าที่อยู่ภายในคลังสินค้า โดยใช้รูปแบบการวิจัยโดยการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในแผนกคลังสินค้า และใช้กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในคลังสินค้าจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นการทดสอบการจับเวลาโดยตรงจากการปฏิบัติงาน จะทำการทดสอบจาก  คำสั่งซื้อให้พนักงานที่ปฏิบัติงานได้นำเข้าไปค้นหาสินค้าและทำการจับเวลาก่อนและหลังการปรับปรุง โดยเข้าไปศึกษาหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พบว่าในการจัดวางสินค้านั้นไม่ได้มีการกำหนดรูปแบบการจัดวางเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน ทำให้สินค้าปะปนกันรวมถึงมีสินค้าวางกองไว้ที่พื้นที่ทางเดินในคลังสินค้า จึงได้ใช้แผนผังก้างปลาเข้ามาเพื่อช่วยหาสาเหตุของปัญหา พบว่าปัญหาหลักคือ การค้นหาสินค้าเป็นเวลานาน คิดเป็น 23.3% ของการทำงาน จากปัญหาที่เกิดขึ้นได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยการทำระบบ stock card สำหรับการเบิก-จ่าย และการรับเข้าของสินค้าทั้งหมด เพื่อให้รู้ถึงการเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละรายการ ในด้านสถานที่ได้มีการออกแบบจัดเก็บและแบ่งหมวดหมู่ตามยอดขายตามสินค้าขายดีและกำหนดรูปแบบผังในการจัดเก็บเป็นแบบตำแหน่งตายตัว โดยสินค้าที่ขายได้เร็วเคลื่อนไหวเร็ว จะถูกนำมาไว้ใกล้กับประตูเพื่อให้ง่ายต่อการเบิกจ่าย ทำการอบรมพนักงานเพื่อให้ทราบรูปแบบการจัดเก็บแบบตำแหน่งตายตัว และทำการจับเวลาในการทำงานในการเบิกจ่ายสินค้า  ผลการวิจัยพบว่า เมื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บสามารถใช้พื้นที่ในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพนักงานปฏิบัติตามระบบที่ได้นำไปปรับใช้ สามารถลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าเวลาเฉลี่ยในการค้นหารองเท้า ลดลงร้อยละ 37.7% หรือคิดเป็น 5.29 นาที/คำสั่งซื้อ จากผลการศึกษานี้เห็นควรให้ทางคลังสินค้าใช้วิธีการเหล่านี้ในการดำเนินงานต่อไป

References

กฤษณ์ เดชอมร. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา โรงงานผลิต แป้งมันสำปะหลังแปรรูป. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). WIM การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC Analysis. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก:https://www.iok2u.com/index.php/article/e-book/249-abc-analysis-abc.

ชุติมา ศักดาพิสุทธิ์. 2557. การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท KPK จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธัญวรรณ มาศวิวัฒน์. (2559). การกำหนดเวลามาตรฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเลนส์โดยใช้เทคนิค most. งานค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นราวิชญ์ มงคลรัชดารมย์ และรวินกานต์ ศรีนนท์. (2560). การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานครั้งที่ 17, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2556). การจัดการคลังสินค้า. ปทุมธานี: ศูนย์การเรียนรู้การผลิตและการจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอล, 60-63.

วิยดา สังโชติ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูป กรณีศึกษาโรงงานผลิตกระดาษเคลื่อนซิลิโคน. งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิมิลัน เทคโนโลยี. (2561). กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้า (Storage Stratege) ในคลังสินค้า. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก: http://www.similantechnology.com/news&article/Storage-Strategy.html.

Flow account. (2562). การจัดการสินค้าคงเหลือ เทคนิคบริหารสต๊อกสินค้าอย่างง่าย. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563, จาก: https://flowaccount.com/blog/การจัดการสินค้าคงเหลือ/.

Mersereau, A. J. (2015). Demand estimation from censored observations with inventory record inaccuracy. Manufacturing & Service Operations Management, 17(3), 335–349.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21