การศึกษาเปรียบเทียบทักษะการจัดการโซ่อุปทานอ้อยของเกษตรกร ตำบลทะเลวังวัด อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ทักษะการจัดการโซ่อุปทาน, โซ่อุปทานอ้อย, เกษตรกร, แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการจัดการโซ่อุปทานอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย และ 2) เปรียบเทียบการศึกษาทักษะการจัดการโซ่อุปทานอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำไร่อ้อย ลักษณะการครอบครองพื้นที่ วิธีการปลูกอ้อย ประเภทอ้อยที่ตัด วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อย และวิธีการขายผลผลิต โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีประชากรการวิจัย จำนวน 216 ครัวเรือน เป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลทะเลวังวัด อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ จำนวน 140 ครัวเรือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่า IOC เท่ากับ 0.83 และค่าความเชื่อมั่น 0.991 การรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามให้แก่กลุ่มตัวอย่างโดยตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับทักษะการจัดการโซ่อุปทานอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X'= 2.58) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการผลิต ( X'= 2.81) ด้านการส่งมอบ (X'= 2.76) ด้านการจัดหา (X' = 2.59) และด้านการวางแผน ( X'= 2.15) โดยผลการวิจัยพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ มีการวางแผนร่วมกันกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยกับชาวไร่อ้อยรายอื่น ดังนั้น ทางภาครัฐหรือภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนจัดหลักสูตรอบรม มีวิทยากรมาให้คำแนะนำ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับเกษตรกรชาวไร่ เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นไปวางแผนการปลูกอ้อย ให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการศึกษาทักษะการจัดการโซ่อุปทานอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และวิธีการปลูกอ้อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กาญจนา เศรษฐนันท์, ดนัยพงศ์ เชษฐโชติศักดิ์, สุรชัย จันทร์จรัส, อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์, วรญา เนื่องมัจฉา, ชลธิดา หลงพลอยพัด, ปัทมาพร บุญทวี และอธิวัฒน์ บุญมี. (2558). โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการเก็บเกี่ยวและขนส่งสำหรับเกษตรกรรายย่อยในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย.ขอนแก่น: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
เกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์ และสมพงษ์ เจษฎาธรรมสถิต. (2557). การจำลองสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์ของการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาล. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก http://frc.forest.ku. ac.th/frcdatabase/bulletin/kuconfer/49/Poster/01_027_P329.pdf.
เดลินิวส์ออนไลน์. (2558). “อ้อย” พืชเศรษฐกิจสำคัญภาคอีสาน. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/agricultur e/341157.
นิพนธ์ พัวพงศกร, บุญจิต ฐิตาภิวัฒนกุล, สุเมธ องกิตติกุล,ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์, ชลัท ทัพประเสริฐ, สุวรรณาตุลยวศินพงศ์, นิภา ศรีอนันต์, เศก เมธาสุรารักษ์, กัมพล ปั้นตะกั่ว และมาเรียม กรีมี. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทาง นโยบายการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การค้า และการลงทุน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
บัวจันทร์ เรืองทอง. (2662). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านหนองปล้อง ตำบลทะเลวังวัด อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์.
พิชญาณี (นิรมล) กิติกุล. (2550). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิทักษ์ ศิลป์ประสิทธิ. (2563). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านระบบตู้สินค้าของสํานักงานศุลกากรที่ทำเรือแหลมฉบัง การทาเรือแหงประเทศไทย.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(1), 69-78.
สมบัติ บัวรักษา และละหัด ช่างทอง. (2662). เกษตรกรชาวไร่อ้อยตำบลทะเลวังวัด อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). คนรักษ์อ้อย. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/144-5562.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2559/60. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal /fileupload/923-9999.pdf.
Crandall, R.E., Crandall, W.R., & Chen, C.C. (2015). Principles of Supply Chain Management (2nd ed.). The United States of America: CRC Press.
Eric, O.O., Prince, A.A., & Elfreda, A.N.A. (2014). Effects of education on the agricultural, productivity of farmers in the Offinso Municipality. International Journal of Development Research, 4(9), 1,951 - 1,960.
Hugos, M.H. (2018). Essentials of Supply Chain Management (4th ed.). The United States of America: John Wiley & Sons.
International Finance Corporation. (2013). Working with Smallholders: A Handbook for Firms Building Sustainable Supply Chains. Retrieved 25 February 2020, From https://openknowledge.worldbank.org/handle/10986/29764.
