การศึกษาความเสี่ยงในโซ่อุปทานของนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์เพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • รัฐยา พรหมหิตาทร สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส์ง, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
  • ศิริกาญจน์ ดุลยวิจักษณ์ สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส์ง, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นของ
บริษัทกรณีศึกษาในจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของบริษัทกรณีศึกษาในจังหวัดราชบุรี 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของบริษัทกรณีศึกษาในจังหวัดราชบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยนี้ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลต้นนํ้าจากเกษตรกรปลูกอ้อยในจังหวัดราชบุรี จํานวน 9 ราย กลางนํ้าจากโรงงานผลิตนํ้าตาลในจังจังหวัดราชบุรี จํานวน 2 แห่ง และปลายนํ้าจากบริษัท ยูไนเต็ด สแตนดาร์ด เทอร์มินัล จํากัด จํานวน 1 แห่ง ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 2) แบบประเมินความเสี่ยงข้อบกพร่องและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  ผลการวิจัยพบว่า โซ่อุปทานนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ใช้ SCOR Model ประกอบไปด้วย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดราชบุรี ทําการปลูกอ้อย และต้นอ้อยจะถูกรวบรวมโดยผู้รวบรวมนําส่งโรงงานผลิตนํ้าตาลในจังหวัดราชบุรีเพื่อแปรรูปออกมาเป็นนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จากนั้นโรงงานส่งไปยังบริษัท ยูไนเต็ด สแตนดาร์ดเทอร์มินัล จํากัด เพื่อทําการส่งออกนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ไปประเทศญี่ปุ่น ผลการวิเคราะห์โซ่อุปทานนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นทั้งต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า และใช้ SCOR Model ในการแบ่ง
ปัจจัยความเสี่ยงตามดังนี้ ต้นนํ้า มีปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด 8 ปัจจัย กลางนํ้า มีปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด 8 ปัจจัย และปลายนํ้า มีปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด 9 ปัจจัย ผลการประเมินความเสี่ยงโซ่อุปทานนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ในส่วนของต้นนํ้า ความเสี่ยงสูงสุด คือ การถูกรบกวนของศัตรูพืช กลางนํ้า ความเสี่ยงสูงสุด คือ การจัดการการรับคืนและปลายนํ้า คือสินค้าไม่ได้คุณภาพ

References

ขั้นตอนการส่งออกนํ้าตาลทรายขาวบริสุทธิ์. บริษัท ยูไนเต็ด สแตนดาร์ด เทอร์มินัล (2562)

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2550). หนังสือการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN MANAGEMENT). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ จามจุรีโปรดักท์

มลฤดี จันทรัตน์ และวิวัฒน์ ไม้แก่นสาร. (2562). การวิเคราะห์โซ่อุปทานส่วนต้นนํ้าของข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงด้วย SCOR Model. คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

รายงานประจําปีของสถานประกอบการ. บริษัท นํ้าตาลบ้านโป่ง จํากัด (2562)

รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทย ประจําปีการผลิต 2560/61. ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562, จาก http://www.ocsb.go.th

แววมยุรา คําสุข. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

สมชาย ไตรรตันภิรมย์. (2555). เอกสารประกอบการบรรยายการบริหารความเสี่ยง. สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

สุรเดช เลิศสมบูรณ์สุข และ ถิรนันท์ ทิวาราตรีวิทย์. (2558). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านต้นทุนการขนส่งสําหรับธุรกิจฟาร์มเห็ด. ในการประชุมวิชาการ การนําเสนอผลการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 ในหัวข้อการพัฒนางานวิจัยรากฐานสําคัญของไทย ก้าวไกลสู่เวทีสากล, หน้า 79. 17-18 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต.

Franceschini, F., & Rossetto, S. (1997a). Design for quality: Selecting Products Technical Features

Quality Engineering, 9(4), 681-688.

Fraser, M. (1994). Quality In Higher Education: An International Perspective, In Green, D. (Ed.),

What IsThe Quality In Higher Education? Open University Press and Society for Research

into Higher Education, Buckingham, 101-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18