การออกแบบเส้นทางการเคลื่อนที่รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติด้วยเทคนิคการจำลองสถานการณ์ และกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น: กรณีศึกษา บริษัทเอ็กซ์วายแซด จำกัด

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ ชูโชติถาวร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) นำเสนอแนวทางการออกแบบเส้นทางเคลื่อนที่ของอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอัตโนมัติที่สามารถลดระยะเวลารอคอย และ 2) เพื่อนำเสนอปัจจัยในการคัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเส้นทางเคลื่อนที่ของอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอัตโนมัติ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่ดำเนินการวิจัย คือ พื้นที่โรงงานผลิตสินค้าอะไหล่ยานยนต์ของบริษัทกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 2 เป็นผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานผลิตของบริษัทกรณีศึกษา จำนวน 9 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และกำหนดโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบแผนภูมิกระบวนการไหล 2) เทคนิคการจำลองสถานการณ์ และ 3) กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Statfit3 ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบไคสแควร์  ผลการวิจัย พบว่า 1) เส้นทางการเคลื่อนที่แบบที่ 2 มี เวลาเฉลี่ยรอคอยลดลงร้อยละ 39.9 จำนวน AGV เฉลี่ยที่รอคอยลดลงร้อยละ 40.7 และเส้นทางการเคลื่อนที่แบบที่ 3 มีอรรถประโยชน์ของพนักงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ระยะทางลดลงร้อยละ 55.75% ต้นทุนลดลงร้อยละ 55.05 และ 2) ปัจจัยที่มีผลสูงที่สุดในการประเมินความเหมาะสมของเส้นทางการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้แก่ 1) เวลาเฉลี่ยรอคอยในกระบวนการร้อยละ 47.34 2) จำนวน AGV เฉลี่ยที่รอคอยร้อยละ 22.16 3) ต้นทุนในการเคลื่อนย้ายร้อยละ 14.68 4) ระยะทางรวมในการเคลื่อนย้ายร้อยละ 11.71 และ 5) อรรถประโยชน์ของพนักงานร้อยละ 4.08 โดยสามารถสรุปได้ว่าการลำดับเส้นทางการเคลื่อนที่ของชิ้นงานหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้ายภายในโรงงานที่แตกต่างกันส่งผลโดยตรงกับประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานและปัจจัยในการพิจารณาของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันจะมีวัตถุประสงค์และส่งผลลัพธ์ของทางเลือกที่แตกต่างกัน

References

ดวงใจ จันทร์ดาแสง. (2558).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ : กรณีศึกษาบริษัทอุตสาหกรรม ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 1(1),26-32.

ผ่องใส เพ็ชรรักษ์. (2558). การบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่ง. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยรังสิต.

พัฒนพงศ์ น้อยนวล. (2555). การปรับปรุงกระบวนการขนส่่งภายในคลังสินค้าโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์กรณีศึกษาอุตสาหกรรมน้ำอัดลม. วิทยานิพนธ์ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. (2553). คู่มือสร้างแบบจำลอง ARENA. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น. วลัยพร ปราศจากและคณะ. (2560). การปรับปรุงผังโรงงานด้วยหลักการออกแบบผังโรงงานอย่างเป็นระบบ กรณีศึกษา โรงงานผลิตดักท์แอร์. ปริญญานิพนธ์วิทยาลัยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร. (2556). การวิเคราห์แบบจำลอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภลักษณ์ ใจสูง. (2554). การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของบริษัทฮานาไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เสาวภา มหาคีตะ. (2557). แบบจำลองการจัดการกระบวนการรับสินค้าอุปโภคบริโภคของศูนย์กระจายสินค้า. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสถิติประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนาและชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2554). การจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทานโดยวิธีแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP). จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, ฉบับที่ 121 (กรกฏาคม-กันยายน), 63-82

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-13