การออกแบบแผนผังคลังสินค้าสําหรับการจัดเก็บฟิล์มม้วนด้วยเทคนิคการวางแผนผัง อย่างเป็นระบบ และเทคนิคการจําลองสถานการณ์ กรณีศึกษา บริษัท ABCจํากัด

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ ชูโชติถาวร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
  • โสภิดา มัฆมาน สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

คำสำคัญ:

Simulation Model

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อนําเสนอแนวทางการออกแบบแผนผังคลังสินค้าที่ช่วยลดระยะเวลาการ
ปฏิบัติงาน และ 2) เพื่อนําเสนอแผนผังคลังสินค้าใหม่ที่เพิ่มอรรถประโยชน์ของพนักงานปฏิบัติงาน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณใช้ทฤษฎีการวางแผนผังโรงงานหรือพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และเทคนิคการจําลองสถานการณ์ เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจํานวน 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานระดับบริหารของบริษัทกรณีศึกษา จํานวน 3 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท กรณีศึกษา ในแผนต่างๆ จํานวน 5 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบกําหนดโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1) แบบแผนภูมิกระบวนการไหล 2) การวางแผนผังโรงงานหรือพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และ 3) เทคนิคการจําลองสถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1. โปรแกรม Statfit 3 สําหรับการทดสอบรูปแบบของการกระจายตัวของข้อมูล 2. วิธีทดสอบสมมติฐานการแจกแจง ความน่าจะเป็นของข้อมูล 2 วิธี ได้แก่ การทดสอบแบบโคโมโกรอฟ-สเมียร์นอฟ และ ไคสแควร์ 1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข่อที่ 1 พบว่าแผนผังแบบที่ 4 เป็นการวางแผนผังแบบตัวยู มีผลลัพธ์การจําลองสถานการณ์ดีที่สุด ระยะเวลาเฉลี่ยการไหลของพาเลทภายในคลังสินค้าลดลงร้อยละ 9, ระยะทางเฉลี่ยในการทํางานลดลงร้อยละ 19.9, จํานวนพาเลทที่สามารถทํางานได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5, ระยะเวลารอคอยในกระบวนการหยิบสินค้าที่ชั้นวางขนาดใหญ่ร้อยละ 6.7 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 พบว่าอรรถประโยชน์ของพนักงานที่ทํางานในแผนกหลักทั้ง 4แผนกเพิ่มสูงขึ้น โดยแผนผังทั้งหมดมีอรรถประโยชน์เพิ่มสูงสุดร้อยละ 19, 12, 13 และ 10 ตามลําดับ ส่งผลให้รูปแบบของแผนผังคลังสินค้าใหม่รูปแบบที่ 4 เป็นรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการนํามาใช้

References

พัฒนพงศ์ น้อยนวล. (2555). การปรับปรุงกระบวนการขนส่งภายในคลังสินค้าโดยใช้แบบจําลองสถานการณ์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมนํ้าอัดลม, วิทยานิพนธ์, ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์, คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เพียงจันทร์ โกญจนาท. (2560). การออกแบบระบบคลังสินค้าสําหรับลังกระดาษลูกฟูก, การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 12, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต, หน้า. 1406-1455

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. (2553). คู่มือสร้างแบบจําลอง ARENA, สํานักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วลัยพร ปราศจาก และ พงศ์พัฒน์ ช่วยบุดดา. (2560). การปรับปรุงผังโรงงานด้วยหลักการออกแบบผังโรงงานอย่างเป็นระบบกรณีศึกษา โรงงานผลิตดักท์แอร์. ปริญญานิพนธ์, วิทยาลัยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วุฒิชัย วงษ์ทัศนีย์กร. (2556). การวิเคราะห์แบบจําลอง. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวภา มหาคีตะ. (2557). แบบจําลองการจัดการกระบวนการรับสินค้าอุปโภคบริโภคของศูนย้กระจายสินค้า. วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาสถิติประยุกต์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อนุช นามภิญโญ. (2562). อิทธิพลของการจัดการลักษณะการกระจายสินค้าและประสิทธิภาพการบริการขนส่งสินค้าของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในเขตปริมณฑล, วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 5(1), 82-97

อักษรสวรรค์ วัชรสุนทรกิจ. (2559). กลยุทธ์ 5 ส และการวางผังโรงงานอย่างมีระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานภายในคลังสินค้า. งานนิพนธ์, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cardarelli, G., & Pelagagge, P. .J. (1995). Simulation tool for design and management optimization of automatedinterbay material handling and storage systems for large waferfab. IEEE Transactions on Semiconductor Manufacturing, 8(1),44-49.

Chia-Huung Wang. (2016). Arena Simulation for Aviation Passenger Security-Check Systems.

Proceeding of the Tenth International Conference on Genetic and Evolutionary Computing, 2016, China, pp. 95-97.

Meller, R. D., & Gau, K.-Y. (1996). The facility layout problem: Recent and emerging trendsand

Perspectives. Journal of Manufacturing Systems, 15(5), 351-366.

Peters, B. A., & Yang, T. (1997). A spine layout design method for semiconductor fabrication-facilities containing automated material handling systems. International Journal of Operations and Production Management, 17(5), 490-501.

Yang, T., Su, C. T., & Hsu, Y. R. (2000). Systematic layout planning: A study on semiconductor wafer fabrication facilities. International Journal of Operations and Production Management, 20(11), 1359-1371. https://doi.org/10.1108/01443570010348299

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18