The การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่คลังพัสดุรายการอะไหล่จับยึดสลักเกลียว: กรณีศึกษาบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) สาขา 5 โรงอะโรเมติกส์ 2

ผู้แต่ง

  • สาธิดา คูชลธารา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกสและการคาชายแดน, มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาเขตจันทบุรี
  • อารยา สุนทรวิภาต สํานักงานจัดการศึกษา สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกสและการคาชายแดน, มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรับปรุงประสิทธิภาพ / การออกแบบพื้นที่จัดเก็บ / การบริหารจัดการพื้นที่คลังพัสดุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คลังพัสดุ รายการอะไหล่จับยึดสลักเกลียว: กรณีศึกษา กรณีศึกษาบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) สาขา 5 โรงอะโรเมติกส์ 2 โดยใช้ทฤษฎี Why-Why Analysis เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการจัดการคลังสินค้ากลุ่มพัสดุรายการสลักเกลียว/น๊อต และใช้หลักการกําจัดความสูญเสีย 7 ประการในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คลังพัสดุ ข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์จากการสังเกตการณ์ทางตรง และการสัมภาษณ์ และข้อมูลทุติยภูมิมาจากบันทึกสถิติการเบิกจ่ายของคลังพัสดุในช้วงปี 2016-2019 ผลของการศึกษาสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คลังพัสดุด้วยการปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บ การย้ายตําแหน่งจัดเก็บ การจัดเรียงรายการพัสดุใหม่ให้ง่ายต่อการหยิบและเก็บเข้าชั้นวางสามารถลดระยะการเดินหยิบพัสดุรายการสลักเกลียว/น๊อตจาก 2 พื้นที่เหลือเพียง 1 พื้นที่คิดเป็นระยะทางที่ลดลงโดยประมาณของตําแหน่งพัสดุเดิมที่ต้องหยิบทั้งพื้นที่ B16-D04 และตําแหน่งพัสดุใหม่ที่หยิบเฉพาะพื้นที่ D04 คิดเป็นร้อยละได้ ดังนี้ ตําแหน่งส่วนหน้าลดลงร้อยละ 61.76 ตําแหน่งส่วนกลางลดลงร้อยละ 52.86 และตําแหน่งส่วนท้ายลดลงร้อยละ 46.29 การจัดเก็บจํานวนรายการพัสดุสลักเกลียว/น๊อตเพิ่มขึ้นอีก 40% ส่งผลให้มีความคุ้มค่าในการใช้
พื้นที่มากขึ้นกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจนับ ตามหา การเตรียมเก็บ และการวางแผนการใช้งานเพื่อเข้าสู่ช่วงการหยุดหน่วยกลั่น เพื่อทําการตรวจสอบและบํารุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ และซ่อมบํารุงเครื่องจักรตามรอบระยะเวลาสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น

References

จุฬาลักษณ์ ตั้งวิวัฒน์วงศ์. (2542). ระบบรวบรวมขอมูลเพื่อศึกษากิจกรรมของคลังพัสดุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพงษ์ คงประเสริฐ. (ม.ป.ป.). Why – Why Analysis. Retrieved from URL http://qd.swu.ac.th/ Portals/2077/Why%20Why%20Anlysis.pdf?ver=2562-05-24-082545-380

ปณิกา ไชยตะมาตร์. (2543). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการการคลังสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณี หอมทอง. (2556). ความสูญเสีย 7 ประการ (7 WASTES). Retrieved from URL http://www. thailandindustry.com/guru/view.php?id=19136.

รัฐวุฒิ วงษ์วิทย์. (2550). การปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินงานคลังพัสดุ: กรณีศึกษา หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา อินทร์สอน และปัทมาพร ท่อชู. (ม.ป.ป.). การวางผังโรงงานอุตสาหกรรม. Retrieved from URL

http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=1229&section=16&issues=79.

สุนันทา ศิริเจริญวัฒน์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จํากัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ไชยพร ปรีชาวงษ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าอัตโนมัติด้วยการจัดแบ่งพื้นที่จัดเก็บสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Greedisgoods. (2020). Why Why Analysis คือ อะไร ? และ ตัวอย่าง 5 Why. Retrieved from URL

https://greedisgoods.com/why-why-analysis-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18