การส่งเสริมความพึงพอใจของลูกค้า ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ; ส่วนประสมการตลาด (4Ps); คุณค่าสินค้า; การบริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยการเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยด้านส่วน
ประสมการตลาด (4Ps) และปัจจัยด้านคุณค่าสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์
ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด (4Ps) และปัจจัยด้าน
คุณค่าสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มาใช้บริการศูนย์การค้าเดอะมอลล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ในสาขาบางกะปิ
สาขาท่าพระ และสาขาบางแค จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่
สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายคุณสมบัติของตัวแปรต่างๆ เป็นข้อมูลเบื้องต้นโดยแจกแจงความถี่ จะได้ค่าร้อยละ
ที่ถูกต้อง ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยวิธี
วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อหาความสัมพันธ์ตัวแปร
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความพึงพอใจ
ในสินค้าและการบริการของลูกค้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่
ในระดับมาก ( = 4.15 - 4.17, SD = .27 - .36) เมื่อพิจารณารายตัวแปร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน
ใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านคุณค่าสินค้ามากที่สุด ( = 4.17, SD = .36) ประกอบด้วย คุณค่าของสินค้า
ประโยชน์ของสินค้า และคุณค่าการบริการ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด (4Ps) ( = 4.15,
SD = .27) ประกอบด้วย สินค้า ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ ส่วนความ
สัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาด (4Ps) และปัจจัยด้านคุณค่าสินค้ามีความสัมพันธ์ทาง
ตรงในเชิงบวกต่อความพึงพอใจในด้านสินค้า และการบริการของลูกค้าศูนย์การค้าเดอะมอลล์ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์
ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value <.05)
ผลงานการวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติการของศูนย์การค้า
เดอะมอลลช์ อ้ ปปงิ้ เซน็ เตอรใ์ นเขตกรงุ เทพมหานคร และตา่ งจงั หวดั ทวั่ ประเทศไทย ตลอดจนหนว่ ยงานอนื่ ๆ ที่
เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้สนใจทั่วไป
References
ฝ่ายวิจัยการเศรษฐกิจรายสาขา, สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2554). สถิติเศรษฐกิจและการเงิน. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธวัชชัย สุวรรณสาร. (2556). การตลาดแบบไวรัส ที่ระบาดไปทั่วโลก. ค้นจาก http://www.coachtawatchai.org/2013/07/
viral-marketing.html
เบญจพนธ์ มีเงิน. (2559). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: แก้วเจ้าจอม.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2550). องค์การกับลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2555). ตัดสินใจในมุมมองของลูกค้าต้องมาก่อนมุมมองด้านการเงิน. ค้นจาก
http://www.phongzahrun.wordpress.com
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พริ้นท์แอนด์มี.
สุนันทา ทวีผล. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้ค้าปรึกษา แนะนำปัญหาด้านกฎหมายของ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (สคช.). ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัมพล ชูสนุก, วิศรุต นาคะเกศ, ฉวีวรรณ ชูสนุก และวิทยา ภัทรเมธากุล. (2560). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อ
คุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจ และความภักดีของลูกค้าบริษัท แอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 33-43.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. NJ: Prentice Hall.
McCarthy, J. (1964). Basic Marketing: A Managerial Approach. IL: Richard D, Irwin, Homewood.
