ปัจจัยผู้ประกอบการที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ฤทธิกุล คำสายพรม บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรีชา วรารัตน์ไชย อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจจัดซื้อ; บริการด้านโลจิสติกส์; โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยผู้ประกอบการที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของโรงงาน
อุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจัดซื้อของโรงงาน
อุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของผู้ประกอบ
การที่มีผลต่อการตัดสินใจจัดซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม และ (3) ศึกษาถึงระดับความ
สำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อต่อการตัดสินใจจัดซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ได้แก่ กลุ่มผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม จำนวน 353 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่
(frequency) ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อ
การตัดสินใจจัดซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการและ
พฤติกรรมการจัดส่งสินค้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 พิจารณาจากผู้ประกอบการที่ทำ
ธุรกิจรูปแบบต่างกัน มีระยะเวลาดำเนินกิจการหรือมียอดขายแตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจจัดซื้อของโรงงาน
อุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐมที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยด้านองค์กร (บริษัทผู้ให้บริการ) และปัจจัยด้านความ
สัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการมีอิทธิพลตัดสินใจจัดซื้อมากที่สุด นอกจากนี้ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
ที่มีระบบการขนส่งที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและรองรับการขนส่งสิงค้าที่หลากหลาย
มากขึ้นจะมีผลผลต่อการตัดสินใจจ้างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่มากขึ้น

References

กาญจน์สิตา โฆสิตธัญญสิทธิ์ และชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกลุ่ม
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี, 11(1), 139-157.
ชนิภรณ์ เอี่ยมสกุลรัตน์. (2558). ความสามารถในการท้างานด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภค.
ค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1285/1/chaniporn.iams.pdf.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศักดิ์ กองสุวรรณ และเชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของผู้ผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), 1-7
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครปฐม. (2559). รายงานประจำปี 2558-2559 จังหวัดนครปฐม. ค้นจาก
http://www.dbd.go.th/nakhonpathom/main.php?filename=index
Dale,S., Douglas, M., & Michale, A. (2004). The process development and commercialization process. International
Journal of Logistics Management, 15(1), 43-56.
Frederick, E., Webster, JR. & Yoram, W. (1972). A General model for Understanding Organizational buying behavior.
Journal of marketing, 36(2), 12-19
Kotler, P. (1997). Marketing management : Analysis, planning, implementation and control (9th ed.). New Jersey:
A simon & Schuster.
Payne, A. (1993). The Essence of Services Marketing. Hertfordshire: Prentice- Hall Sheth, J. N. (1973). A model of
industrial buyer behavior. Journal of Marketing, 37, 50-65.
vol4no2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-02