08 การศึกษาระดับปัญหาที่ส่งผลต่อโซ่อุปทานการขนส่งทางราง กรณีศึกษาที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธิน
คำสำคัญ:
ความมั่นคงทางด้านสุขภาพ; ทฤษฎี PRECDE-PROCEED Modelบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาในโซ่อุปทาน
การขนส่งทางราง กรณีศึกษา ที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธิน (2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาใน
โซ่อุปทานการขนส่งทางราง กรณีศึกษาที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธิน มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 196 คน โดย
แบ่งเป็นสัดส่วนได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ ที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธิน
จำนวน 148 คน 2) กลุ่มพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กองสินค้าจำนวน 38 คน และ 3) กลุ่มผู้ประกอบ
การขนส่ง ภายในที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธินจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมีปัญหามาก ( = 3.53,
SD = 0.72) หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความถูกต้องในการขนส่งรถสินค้าหรือพ่วงรถมีปัญหาในระดับ
มากที่สุด ( = 4.66, SD = 0.79) ด้านสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.20, SD = 0.66)
หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านระดับแสงไฟส่องสว่างในการปฏิบัติงานยามคํ่าคืนอยู่ในระดับมาก ( =
3.69, SD = 0.64) ด้านบุคลากรผู้ปฎิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.94, SD = 0.69) หาก
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้าน การมีกฎระเบียบที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว
สะดวกรวดเร็ว มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.38, SD = 0.84) และด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ขบวน
รถโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.93, SD = 0.63) หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านจำนวน
แคร่มีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอยู่ในระดับมาก และด้านจำนวนหัวรถจักรเพื่อมาทำขบวนรถออกจาก
ที่ทำการรับส่งสินค้าย่านพหลโยธินมีความเพียงพอต่อการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.54, SD = 0.72,
และ = 3.34, SD = 0.58) ตามลำดับ
