03 การพัฒนาตัวแบบการบริหารธุรกิจทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สู่ความเป็นเลิศ
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวแบบการบริหารธุรกิจทางพิเศษ; การบริหารธุรกิจทางพิเศษ; การทางพิเศษแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารธุรกิจทางพิเศษของการ
ทางพิเศษแห่งประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ และ 2) พัฒนาตัวแบบการบริหารธุรกิจทางพิเศษของการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์
ข้อมูลและทดสอบตัวแปร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
ผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน พบว่า ผู้ตอบ
แบบสอบถามซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 72.50) มีอายุ 51ปีขึ้นไป (ร้อยละ 55.00) มี
การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 84.50) มีตำแหน่งงานระดับหัวหน้าแผนก (ร้อยละ 69.50) มีรายได้ต่อเดือน
50,001 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 56.00) และสถานภาพสมรส (ร้อยละ 98.00)
2. ผลการวิเคราะห์ตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารองค์การการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.68 - 4.14, SD = .437-.60) เมื่อ
พิจารณารายตัวแปร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือปัจจัยด้านธรรมาภิบาล
( = 4.14, SD = .43) มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ (
= 4.05, SD = .43) ปัจจัย
ด้านคน ( = 4.02, SD = .51) ตามลำดับ
3. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยเทคนิควิธีถดถอยพหุคูณ (MRA) พบว่า ความสำเร็จในการ
บริหารธุรกิจทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภาวะผู้นำของ
ผู้บริหาร ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านโครงสร้างและกระบวนการ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล และปัจจัยด้านคน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α .05 (p-value ≤ .05)
