Editor : Asst. Prof.Dr. Natpatsaya Setthachotsombut
เกี่ยวกับวารสาร
1. เกี่ยวกับวารสาร (About the journal)
วารสารปฏิบัติการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Journal of Logistics and Supply Chain Operations: JLSCO) ISSN 3027-7337 (Print) , ISSN 3027-7361 (Online) (เลขเดิม-ชื่อเดิม ISSN: 2651-1622, E-ISSN: 2408-2740 วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน) เข้าถึงได้ที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j เป็นวารสารระดับชาติที่มีการเผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับ ปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) และมีค่า Impact Factor (IF) โดยวารสารปฏิบัติการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Journal of Logistics and Supply Chain Operations: JLSCO)เป็นวารสารของวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่มุ่งนุ้นการผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนั้น วารสารฉบับนี้จึงมีความมุ่งหวังที่จะเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ ที่ได้จากการวิจัย และเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการวิจัยและวิชาการระดับชาติ ในศาสตร์ด้าน โลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้านบริหารธุรกิจ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แก่นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา บุคคลทั่วไปและสังคม
2. จุดประสงค์และขอบเขตบทความ (Aims and Scope)
จุดประสงค์ของวารสาร (Aims of journal)
- เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่จากการวิจัยและทางวิชาการ ในศาสตร์ด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ด้านบริหารธุรกิจ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แก่นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา บุคคลทั่วไปและสังคม
- เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย การนำเสนอและการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ หรือระบบใหม่ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยสาขาวิชา (1) การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และ (2) การบริหารธุรกิจ
ขอบเขตบทความ (Scope of articles)
หมวดหมู่หัวเรื่องหลักทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ประกอบด้วย หมวดหมู่และหัวข้อย่อยของบทความที่รับตีพิมพ์ ดังนี้
หมวดหมู่หลัก: สังคมศาสตร์ |
|
สาขาวิชา |
หัวข้อย่อย |
ธุรกิจ, การจัดการ และการบัญชี |
ธุรกิจทั่วไป, การจัดการและการบัญชี |
วิทยาศาสตร์การตัดสินใจ |
วิทยาศาสตร์การจัดการ และการวิจัยการดำเนินงาน |
เศรษฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์และการเงิน |
เศรษฐศาสตร์ทั่วไป, เศรษฐมิติและการเงิน |
สังคมศาสตร์ |
การขนส่ง |
สังคมศาสตร์ |
สังคมศาสตร์ทั่วไป |
(หมายเหตุ: เลือกหมวดหมู่ตาม Scopus และตามข้อมูลที่ TCI ให้เลือกเมื่อ 17 กันยายน 2564
https://tci-thailand.org/?p=6759)
ทั้งนี้ ตัวอย่างขอบเขตของบทความด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เช่น
- ด้านการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบ
- ด้านการเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า
- ด้านการขนส่ง
- ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง
- ด้านการบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ
- ด้านการขนถ่ายวัสดุ
- ด้านการจัดเตรียมชิ้นส่วนและสนับสนุนบริการ
- ด้านบรรจุภัณฑ์
- ด้านการดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า
- ด้านการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า
- ด้านการติดต่อสื่อสารโลจิสติกส์
- ด้านการบริการลูกค้า
- ด้านโลจิสติกส์ย้อนกลับ
- ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- ด้านการตลาดและการขาย
- ด้านการเงิน
- ด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชน
ทั้งนี้ ตัวอย่างขอบเขตของบทความด้านการบริหารธุรกิจ เช่น
- การบริหารจัดการธุรกิจ
- การวางแผน
- การบัญชีและการเงิน
- การบริหารองค์กร
- การบริหารทรัพยากรบุคคล
- การจัดการการดำเนินงาน
- การอำนวยการและจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
- การประสานงาน
- การควบคุม
- การสื่อสารและสั่งการ
- การใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ
3. ประเภทบทความที่รับ (Types of journal articles)
ประเภทบทความที่เปิดรับมี 4 ประเภท ได้แก่
- บทความวิจัย (Research Article) หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็น
ระบบ นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ที่มีประโยชน์
- บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นองค์ความรู้ใหม่
- บทความปริทรรศน์ (Review Article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า การทบทวนวรรณกรรม มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ ในเชิงกว้างและเชิงลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นความแตกต่าง แนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนา หรือการนำสู่แนวการวิจัยต่อไปในอนาคต
- บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึง บทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระ คุณค่า และคุณูปการ (Contributions) ของหนังสือ บทความ ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้หลักวิชาและดุลพินิจที่เหมาะสม
4. กำหนดการออกวารสาร (Publication Frequency)
การเผยแพร่บทความของวารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Journal of Logistics and Supply Chain College) จัดทำเป็นรูปเล่ม หมายเลข ISSN 3027-7337 (Print) , ISSN 3027-7361 (Online) เผยแพร่เป็นรูปเล่มและเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j
กำหนดออกเผยแพร่ราย 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม
5. การประเมินบทความ (Peer Review)
ประเภทของการประเมิน (Type of Peer Review)
กองบรรณาธิการ จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนลงตีพิมพ์ โดยผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-blind peer review)
จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Number of Peer reviewers)
ใช้จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน ต่อบทความ เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองและประเมินบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาว่าบทความนั้น ควรได้ลงตีพิมพ์ (Accept) หรือควรจะส่งคืนให้ผู้เขียนแก้ไขเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Major/Minor Revision) หรือควรแจ้งปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject)
**วารสารได้เปลี่ยนจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer Review) จาก 2 คน เป็น 3 คน โดยเริ่มตั้งแต่ 21 ม.ค. 2565 สำหรับบทความ Vol.8 No.2 ก.ค. - ธ.ค. 2565**
Last update: 27/02/2568