การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้านํ้าอัดลมด้วยซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอส
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlscc.v9i2.261199คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพคลังสินค้า, การบริหารคลังสินค้า, สินค้านํ้าอัดลม, ซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอสบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าน้ำอัดลมด้วยซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอส และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารคลังสินค้าน้ำอัดลมด้วยซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอส ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคลังสินค้า ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานฝ่ายปฏิบัติการคลังสินค้าและฝ่ายปฏิบัติการกระจายสินค้า จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 203 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือไดคาความเที่ยงตรงของเนื้อหา IOC = 0.84 และคาความเชื่อมั่น = 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าน้ำอัดลมด้วยซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอส พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มิติด้านความถูกต้อง (
= 4.60) คือ การจัดเก็บสินค้า ช่วยแยกประเภทสินค้าได้ถูกต้อง รองลงมา คือ มิติด้านเวลา (
= 4.58) คือ การจัดเก็บสินค้า ช่วยจัดเก็บสินค้าเร็วขึ้น และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มิติด้านความสูญเปล่า (
= 4.55) คือ การจัดเก็บสินค้า ลดความสูญเปล่าด้านเวลา 2) อิทธิพลของการบริหารคลังสินค้าน้ำอัดลมด้วยซอฟต์แวร์ดับเบิ้ลยูเอ็มเอสที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคลังสินค้า พบว่า การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า บริหารพื้นที่จัดเก็บสินค้า และการจัดสินค้า ฟังก์ชั่นดังกล่าวมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคลังสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 และ 0.05 ขณะที่การจ่ายสินค้านั้นกลับไม่มีผล ดังนั้นการนำผลวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง
References
กฤชชัย อนรรฆมณี. (2563). ส่งมอบตรงเวลาและครบจำนวน ปัจจัยของการพัฒนาผลิตภาพ. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก: https://www.bangkokbiznews.com /blogs/columnist/124007.
จุฑาทิพย์ ลีลาธนาพิพัฒน์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การจัดการสินค้าคงคลังอย่างมือ. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1),1-16.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2559). การจัดการพื้นที่คลังสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฟกัส มีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
ชนกานต์ สมานมิตร. (2558). ระบบพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
ฐณวัฒน์ วุฒิอิสราพัชร์. (2563). การจัดการสินค้ายุคใหม่ให้แข็งแกร่ง. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564, จาก:https://www.aobrom.com/postdetail._2229.
ณภัสณรรฑ์ วงษ์สมาจารย์. (2560). การปรับปรุงแผนผังคลังสินค้าสำเร็จรูปเพื่อลดระยะทางรวมของการเคลื่อนไหวของสินค้า กรณีศึกษา โรงงานผลิตเหล็กหล่อ. สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนิต โสรัตน์. (2562). การจัดการคลังสินค้ายุคใหม่. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2564, จาก: http://www.logisticsthai club.com/ index. php?mo=3&art=280061.
ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2562). เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการเสริมแรงทางลบ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(3), 14-27.
ธิญาดา ใจใหมคร้าม. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษาคลังสินค้า 2 ราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร องค์การคลังสินค้า. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นลพรรณ บุญฤทธ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รวมพล จันทศาสตร์ และอังกูร ลาภเนตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขนส่งและการคลังสินค้าเพื่อลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่า. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 403-418
ศุจิกา บุญฤทธิ์. (2556). การจัดลำดับความสำคัญตัวชี้วัดประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยเทคนิคระดับชั้นเชิงวิเคราะห์ฟัซซี่. รายงานการวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก: https://www.nesdc.go.th/main.php? filename=index.
สุภา จิรวัฒนานนท์. (2562). อิทธิพลของเทคโนโลยีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการคลังสินค้าในธุรกิจค้าปลีกสมัย ใหม่. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(2), 42-55.
สุรศักดิ์ พรบรรเจิดกุล. (2563). บริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพและทำกำไรทันที. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้งกรุ๊ป จำกัด.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564, จาก:https://bongkotsakorn.Wordpress.com/2013/06/06/ เทคนิคการทำงานให้ประสบความสำเร็จ.
อลงกต ใหม่น้อย. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก: https://sites. google.com/site/mralongkotmainoy/kar-pheim-prasiththiphaph-khxng-Xngkhkar.
โอฬาร กิตติธีรพรชัย. (2561). คลังสินค้าและการจัดการคลังสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจจิมา เชิดชม และปณิธาน พีรพัฒนา. (2562). การปรับปรุงระบบบริหารจัดการคลังสินค้าเพื่อกำหนดตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้า: กรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publications.
