กลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชน กรณีของอุตสาหกรรมแฟชั่นรวดเร็ว

ผู้แต่ง

  • ชูศักดิ์ พรสิงห์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพคุณ แสงเขียว หน่วยวิจัยการจัดการในงานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ณัฐริกา จิรเจษฎางค์ หน่วยวิจัยการจัดการในงานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นภสร ตันติอาภรณ์ หน่วยวิจัยการจัดการในงานวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทองแท่ง ทองลิ่ม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • โชติ อินทวงศ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

แฟชั่นรวดเร็ว, การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, อุตสาหกรรมแฟชั่น

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีตราสินค้าแฟชั่นชั้นนำมากกว่า 20 แบรนด์ที่ตอบรับความต้องการต่อการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามแบรนด์เสื้อผ้าหลายแห่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการในตลาดแฟชั่นได้ทันที่วงที บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านสื่อสารสนเทศ ของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นรวดเร็ว (Fast fashion) ที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นรวดเร็ว และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์กับการบริหารจัดการซัพพลายเชนและผลกระทบอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นรวดเร็ว โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมเอกสารแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ตราสินค้า ได้แก่ ซาร่า (ZARA) เฮชแอนด์เอ็ม (H&M) และยูนิโคล่ (Uniqlo) ร่วมกับการทบทวนทฤษฎีการจัดการ แนวคิด และกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นรวดเร็วเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลรอง ผลจากการศึกษาพบว่า ตราสินค้า ซาร่า (ZARA) ได้คะแนนสูงสุดในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คิดเป็น 4.8 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับตราสินค้าอื่น โดยตราสินค้า ยูนิโคล่ (Uniqlo) ได้รับคะแนนเต็ม 5.0 ในด้านผลกระทบต่อสังคม เนื่องจากมีระบบสนับสนุนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ตัวชี้วัดด้านการปฏิบัติด้านแรงงาน และสิทธิมนุษยชนที่ดีกว่าตราสินค้าอื่น ดังนั้นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแบบรวดเร็วแตกต่างจากกลยุทธ์โซ่อุปทานดั้งเดิม เนื่องจากมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการผลิตแต่ละขั้นตอน ลดสินค้าคงคลัง และสามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

References

Baghi, I., Gabrielli, V. & Codeluppi, V. (2013). Consumption Practices of Fast Fashion Products: A Consumer-Based Approach. Journal of Fashion Marketing and Management. 17. 206-224. https://doi.org/10.1108/JFMM-10-2011-0076.

Camargo, L., Pereira, S., & Scarpin, M. R. S. (2020). Fast and Ultra-Fast Fashion Supply Chain Management: An Exploratory Research. International Journal of Retail & Distribution Management. 48(6). 537-553. https://dor.org/10.1108/IJRDM-04-2019-0133.

Caro, F. & Martínez-de-Albéniz, V. (2015). Fashion between Zara and Uniqlo. Fast Fashion: Business Model Overview and Research Opportunities. New York: Springer. Retrieved 8 Apr 2019, From: http://library.dip.go.th/multim6/edoc/2557/22631.pdf.

Ellram, L. M. & Cooper, M. C. (1993). Characteristics of Supply Chain Management and the Implications for Purchasing and Logistics Strategy. International Journal of Logistics Management, 4(2), 13-24. https://doi.org/10.1108/09574099310804957.

Ellram, L. M. & Cooper, M. C. (1990). Supply Chain Management, Partnerships and The Shipper-Third Party Relationships. International Journal of Logistics Management, 4(2), 1-10. https://doi.org/10.1108/95740939080001276.

Gallaugher, J. M. (2008). Zara Case: Fast Fashion from Savvy Systems. Retrieved 7 July 2018,

From: http://www.gallaugher.com/Zara%20Case.pdf. published in 9/13/2008.

Hayes, S.G. & Jones, N. (2006). Fast Fashion: A Financial Snapshot. Journal of Fashion Marketing and Management, 10(3), 282-300. https://dor.org/10.1108/13612020610679277.

Jones, G. R. (2002). Organizational Behavior (3rd ed.). New Jersey: Prentice–Hall.

Jones, T. C. & Riley, D. W. (1985). Using Inventory for Competitive Advantage Through Supply Chain Management. International Journal of Physical Distribution and Materials Management, 15(5),16-26. https://doi.org/10.1108/eb014615.

Joung, H.-M. (2014). Fast-Fashion Consumer’s Post-Purchase Behaviours. International Journal of Retail & Distribution Management, 42(8), 688-697. https://doi.org/10.1108/ IJRDM-03-2013-0055.

Mehrjoo, M. & Pasek, Z. (2015). Risk Assessment for The Supply Chain of Fast Fashion Apparel Industry: A System Dynamics Framework. International Journal of Production Research. 54. https://doi.org/10.1080/00207543.2014.997405.

Mimapun, N. (2013). Attitude and Purchasing Behavior of Apparel on Facebook Webpages of Users in Bangkok. Retrieved 10 June 2019, From: www.spu.ac.th/commarts/files/2013/9.

Mongkolsin, T. (2015). Supply Chain Management in the Contemporary Fashion Industry. Executive Journal (Bangkok University), 35(1), 35-43. Retrieved 30 July 2018, From: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/81217.

Nick Octdick, (2016). Let’s Get Vertizontal: Combining Vertical and Horizontal Integration. Retrieved 30 April 2019, From: https://blog.flexis.com/lets-get-vertizontal-combining-vertical-and-horizontal-integrat.

Passariello, C. (2008). Logistics are in vogue with designer-as slump threatens luxury goods, systems to track consumer tastes and tweak offerings win converts. The Wall Street Journal, 54(6), 1115-1131. Retrieved 30 April 2019, From: https://www.wsj.com/articles/SB121451654414108561.

Scott, C. & Westbrook, R. (1991). New Strategic Tools for Supply Chain Management. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 21(1), 23-33. https://doi.org/10.1108/09600039110002225.

Stevens, G. C. (1989). Integrating the Supply Chain. International Journal of Physical Distribution & Materials Management, 19(8), 3-8. https://doi.org/10.1108/EUM0000000000329.

Thomas, D.J. & Griffin, P.M. (1996). Coordinated Supply Chain Management. European Journal of Operation Research, 94, 1-15. https://doi.org/10.1016/0377-2217(96)00098-7.

Trienekens, J.H. (1999). Management of Processes in Chains: A Research Framework Thesis of the Degree of Doctor of Philosophy. Wageningen Universeit, Wageningen, The Netherlands.

W&S Group. (2015). Fashion market studies Thailand 2015. Retrieved 20 Feb 2019, From: http://www.slideshare.net/WS-Thailand-Market-Research/fashion-market-studiesthailand22042015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-31