ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจัดการโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปบทคัดย่อ
อาหารทะเลแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพของประเทศไทยและเป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน และการจัดการโลจิสติกส์เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปสามารถใช้เป็นแหล่งความได้เปรียบในการแข่งขันในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และระดับการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย และ 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่มีต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปจำนวน 126 ราย จากประชากรซึ่งได้แก่ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 144 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบจากการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่ส่งต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ของผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทยโดยรวมอยู่ ในระดับมาก ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ส่งผลต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย นอกจากนั้น ผลการศึกษาเสนอแนะว่า ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรเน้นยกระดับความน่าเชื่อถือในการให้บริการ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
References
กาญจน์สิตา โฆษิตธัญญสิทธิ์ และชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม. RMUTT Global Business and Economics Review, 11(1), 139-157.
ดนัย ปัตตพงศ์. (2559). เอกสารวิชาการด้านการวิจัยและสถิติประยุกต์. สืบค้นจากhttp://it.nation.ac.th
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท, 2550.
ธราภรณ์ เสือสุริย์. (2558). ปัจจัยที่อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อและ การกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงแรมระดับห้าดาว. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2557). ความหมายและความสำคัญอุตสาหกรรมอาหาร. จาก: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2561/อุตสาหกรรมอาหาร.
วันพิชิตต์ อรรคดีและศักดิ์สินี กลิ่นสุนทร. (2560). ปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกใช้บริการขนส่งของบริษัทยูเซ็นโลจิสติกส์(ประเทศไทย) จำกัด. การประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร
วิมลวัลย์ ทรงศิริยศ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าขาออกของผู้ประกอบการ กรณีศึกษาท่าเรือกรุงเทพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 15-22.
สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ และคณะ. (2554). การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดจ้างด้านการขนส่งสินค้า. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8(1), 1-8.
สุนทรี เจริญสุข. (2555). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน: กรณีศึกษาบริษัทวี-เซิร์ฟโลจิสติกส์ จ้ากัด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ,119(15), 119-138.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2563). ศักยภาพในการส่งออกอาหารของไทยตลอดปี 2563. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2563, จาก: https://www.fti.or.th
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (2563). อาหารทะเลแปรรูปมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562-2565. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563, จาก: https://www.tmbbank.com/analytics/industry-analysis/view/Thai-seafood-Outlook-2020.html.
ศักดิ์ กองสุวรรณ และเชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(2), 1-7.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2560). ส่องทางรอดส่งออกอาหารทะเลแปรรูปไทย. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2560, จาก: https://www.kasikornbank.com/th/business/sme
อรุณศรี ดอกสาคู. (2561). ผู้จัดการแผนกนำเข้าส่งออก บริษัท เอ็น เอส ซีฟู๊ด จำกัด. สัมภาษณ์.
Bianchini, A. (2018). 3PL provider selection by AHP and TOPSIS methodology. Benchmarking: An International Journal, 25(1), 235-252.
Certo Samuel C, & Certo Trevis S. (2006). Modern Management: Concepts and Skills. (12th ed). University of Colorado: Prentice Hall.
Hortrawaisaya, C. (2015). Logistics collaboration model in orchid supply chain. Unpublished doctor dissertation, University of the Thai Chamber of Commerce.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed.). New Jersey: Asimmon & Schuster.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2006). Marketing management. (12th ed). Upper Saddle River NJ: Pearson.
Ngah, A.H., Zainuddin, Y. & Thurasamy, R. (2014). Barriers and enablers in adopting Halal transportation services: A study of Malaysian Halal Manufacturers. International Journal of Business and Management, 2(2), 49-70.
Stock, J.R., & Lambert, D. M. (2001). Strategic Logistics Management. (4th ed). New York: McGraw-Hill.
Tariq M.I., Nawaz M.R, Nawaz M. M. & Butt H. A. (2013). Customer Perceptions about Branding and Purchase Intention: A Study of FMCG in an Emerging Market. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 3(2), 340-347.
Williams, Z., Garver, M.S., & Richey Jr, R.G. (2019). Security capability and logistics service provider selection: An adaptive choice study, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management. Vol. 49 No. 4, pp. 330-355
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New york : Harper and Row Publication.
Zeithaml, V. A., Berry, L.L., & Parasuraman, A. (1993). The nature and determinants of Customer expectations of service, Journal of the academy of marketing science, 21(1), 1-12.
