แนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่คุณค่าของธุรกิจกะทิสำเร็จรูป

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์ยศ วิทยานันตนารมย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชิตพงษ์ อัยสานนท์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน วิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การจัดการโซ่คุณค่า, กะทิสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะความคิดเห็นเรื่องการจัดการโซ่คุณค่าของกะทิสำเร็จรูป 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นในการจัดการโซ่คุณค่าของกะทิสำเร็จรูป และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่คุณค่าของกะทิสำเร็จรูป โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ประชากรในการวิจัยเป็นพนักงานที่ทำงานในโรงงานกะทิสำเร็จรูป อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 598 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 234 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัยพบว่า 1) การศึกษาการจัดการโซ่คุณค่าของกะทิสำเร็จรูป ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับห่วงโซ่คุณค่าเพื่อนําไปสู่การเชื่อมโยงของกระบวนการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจกะทิสำเร็จรูป ด้วยการเชื่อมโยงกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนของการจัดการโซ่คุณค่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X'= 3.85, S.D. = 0.54) 2) การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นในการจัดการธุรกิจกะทิสำเร็จรูปตามกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนของโซ่คุณค่า พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุด และหน่วยงานที่สังกัดที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการจัดการธุรกิจกะทิสำเร็จรูปตามกิจกรรมหลักของโซ่คุณค่าแตกต่างกัน นอกจากนี้ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งงาน และอายุงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการจัดการธุรกิจกะทิสำเร็จรูปตามกิจกรรมสนับสนุนของโซ่คุณค่าแตกต่างกัน และพนักงานที่มีแผนกสังกัดที่แตกต่างกัน และมีตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการโซ่คุณค่าของกะทิสำเร็จรูปในทุกกิจกรรม ต้องมีการตรวจสอบ มีควบคุมคุณภาพในทุกกิจกรรมตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ การผลิต การจัดส่งและบริหารสินค้าคงคลัง การตลาดและการขายสินค้า การให้และการบริการหลังการขาย การจัดซื้อ  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำนักงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร. (2563). กิจกรรมจัดทําองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจงานพัฒนาองค์ความรู้สําหรับ SME (Knowledge Center) ปีงบประมาณ 2561 : กรณีศึกษา “กะทิชาวเกาะ” เกษตรแปรรูปเพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน: กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยให้ประหยัด. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2562). การฟื้นฟูบริการในการขนส่งสินค้าทางอากาศสมรรถนะของโซ่อุปทานและผลการดำ เนินงานในธุรกิจส่งออก. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 20 (พิเศษ),101-116.

ญาลิสาฐ์ ต้นสอน. (2558). แนวทางการพัฒนาโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของ บริษัทนำเที่ยวของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า ตามกรอบความร่วมมือของอาเซียน. ม.ป.พ.:กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นัยวิท เฉลิมนนท์, วรรณา ขันธชัย, และปฐมพงศ์ สมัครการ. (2559). คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีปั่นเหวี่ยง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ : นนทบุรี.

เพ็ญพล สังข์แก้ว. (2559). การศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัทรสิญากร คณาเสน. (2558). แนวทางการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในธุรกิจโรงไม้สับ กรณีศึกษา บริษัท ธัญญเจริญยโสธรวู๊ดชิพ จำกัด.สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดิ์นรินทร์ แก่นกล้า. (2559). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2563). สถานการณ์การผลิตมะพร้าว. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และ โลจิสติกส์ของสินค้าเกษตรภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอ แนวทางนโยบายการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การค้า และการลงทุน. สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation andcontrol. (9th ed). New Jersey: Asimmon & Schuster.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Phoo, P. (2019). Upgrading options for Myanmar Fresh Ginger Value Chains. Thesis for the Degree of Master of AgriCommerce. Massey University, New Zealand.

Porter, M. E. (1985). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.

Robert B. Handfield, Ernest L. Nichols, Jr. (2008). Introduction to Supply Chain Management. (2nd ed ). NJ : Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23