ความเสี่ยงของกระบวนการส่งออกของบริษัท ผู้ส่งออกวัสดุทดแทนไม้แห่งหนึ่งในประเทศไทยในช่วงโควิด 19

ผู้แต่ง

  • อนัญญา พุ่มรัก บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชุมพล มณฑาทิพย์กุล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สง่า มณฑาทิพย์กุล คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ,

DOI:

https://doi.org/10.53848/jlscc.v10i1.264860

คำสำคัญ:

กระบวนการส่งออกสินค้า, การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ, โลจิสติกส์, ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการทำงานหลักในการส่งออกวัสดุทดแทนไม้ในช่วงโควิด 19 ของบริษัทแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และนำเสนอแนวทางในการป้องกันความเสี่ยง เป็นการวิจัยประยุกต์และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงกับบริษัทแห่งหนึ่ง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมระดมสมอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 10 รายที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด จากบุคลากรในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทั้งหมด 37 ราย  คำถามเป็นแบบปลายเปิดที่สอดคล้องกับกรอบการวิจัย โดยมีการทวนสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ราย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 และ 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบอุปนัยและใช้การทวนสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า  บริษัทมีกิจกรรมการทำงานหลักในกระบวนการส่งออกวัสดุทดแทนไม้ทั้งหมด 9 กิจกรรมหลัก และพบข้อบกพร่องในกระบวนการทำงานทั้งหมด 29 รายการ ข้อบกพร่องทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย  ค่าเลขลำดับความเสี่ยง (RPN) ซึ่งผลการคำนวณพบว่าค่าเลขลำดับความเสี่ยงมีค่าตั้งแต่ 2 จนถึง 125 โดยข้อบกพร่องที่มีเลขลำดับความเสี่ยงสูงสุด คือ การไม่มีพื้นที่ระวางเรือเพื่อส่งสินค้าออก ซึ่งเกิดจากการล็อกดาวน์และการระงับการเข้าออกของประเทศปลายทาง จากการคัดเลือกข้อบกพร่องที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 อันดับแรก เพื่อกำหนดมาตรการรองรับความความเสี่ยง และนำมาตรการดังกล่าวไปทดลองปฏิบัติงานจริงเป็นเวลาทั้งหมด 2 เดือน ภายหลังการทดลองปฏิบัติงาน พบว่าสามารถลดค่าเลขลำดับความเสี่ยงใหม่ลงได้มากกว่าร้อยละ 50

References

กรมศุลกากร. (2562). พิธีการศุลกากรส่งของออก. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก: https://www.customs.go.th.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564). สถานการณ์การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยปี 2563. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565, จาก: https://www.dtn.go.th.

กระทรวงพาณิชย์. (2566). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย ปี 2535 – 2565 (มกราคม - พฤศจิกายน). ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565, จาก: https://tradereport.moc.go.th.

ขวัญชัย เจริญกรุง, นภาลัย เสมอใจ, วรรษชล เพ็งแย้ม, ปรียากรณ์ กล้าใจ และนฤชา จากปล้อง. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุทดแทนไม้ จากวัสดุชีวภาพต่อการเข้าทำลายของปลวกใต้ดิน. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก: http://forprod.forest.go.th/forprod/frs-research.

ลงทุนแมน. (2565). ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าส่งออกของไทยที่กำลังเติบโต. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก: https://www.longtunman.com/36108.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). ปัญหาค่าขนส่งทางเรือสูงในช่วงโควิด-19. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565, จาก: https://www.tdri.or.th/2021/04/covid-111/.

สมภพ ตลับแก้ว. (2551). การประยุกต์ใช้วิธีการ FMEA เพื่อปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 21(68), 24-29.

สุภาวดี คุ้มราษฎร์. (2560). การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และการเลือกตัวแทนขนส่งสินค้า: มุมมองผู้ส่งออก. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 215-230.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจ ในประเทศ ปี 2564. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2565, จาก: https://www.nesdc.go.th.

อรสุรางค์ หวังวิศวาวิทย์. (2559). การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกระบวนการนำเข้าสินค้าด้วยเทคนิค FMEA.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Aleksander, S., & Maria, C. (2018). Failure Mode and Effect Analysis of Air Cargo Freight Services Provider. Logistics and Transport, 2(38), 69-76.

Emre, A., & Erkan, C. (2018). A Quantitative Risk Analysis by Using Interval Type-2 Fuzzy FMEA Approach: the Case of Oil Spill. Maritime Policy & Management, 45(8), 979-994.

Hoseynabadi, H.A., Oraee, H., & Tavner, P.J. (2010). Failure Modes and Effect Analysis (FMEA) for Wind Turbines. Electrical Power and Energy Systems, 32(7), 817-824.

Lavastre, O., Gunasekaran, A., & Spalanzani, A. (2012). Supply Chain Risk Management in French Companies. Decision Support Systems, 52(4), 828-838.

Mcdermott, R.E., Mikulak, R.J. & Beauregard, M.R. (2008). The Basics of FMEA (2nd edition). New York: Productivity Press.

Sayareh, J., & Ahouei, V.R. (2013). Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) for Reducing the Delays of Cargo Handling Operations in Marine Bulk Terminals. Journal of Maritime Research, 10(2), 43-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29