แนวทางการปรับปรุงกระบวนการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบัง – สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
DOI:
https://doi.org/10.53848/jlscc.v10i1.264288คำสำคัญ:
การขนส่งทางถนน, การขนส่งทางรถไฟ, ตู้คอนเทนเนอร์, ท่าเรือแหลมฉบัง, สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าในปัจุบัน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงในการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากท่าเรือแหลมฉบัง รวม 12 คน ได้แก่ ตัวแทนสายเรือ จำนวน 6 คน ผู้ให้บริการท่าเทียบเรือ จำนวน 3 คน และ ผู้ให้บริการหัวลาก จำนวน 3 คน ใช้ข้อมูลทางสถิติปริมาณนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 จากนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเหตุและผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แผนผังก้างปลา และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการขนเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบังในปัจจุบันสามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบได้แก่ รูปแบบทางถนน และทางราง 2) ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงสามารถสรุปประเด็นหลักที่ควรปรับปรุง 3 ประเด็นสำคัญเรียงตามลำดับได้ดังนี้ (1) กระบวนการขนส่ง (2) การปฏิบัติงานภายในท่าเรือ (3) ขั้นตอนพิธีการศุลกากร โดยแนวทางปรับปรุงได้แก่ การดำเนินการปรับปรุงนำระบบนัดหมายเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งทางราง และปรับปรุงได้ด้วยกันพัฒนาการติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์แทนการติดต่อผ่านสำนักงานศุลกากรเพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาการเดินทาง
References
การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2564). กลุ่มสินค้าคอนเทนเนอร์. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2565, จาก: https://www.railway.co.th/Service/Products_detail?value1=00DE5502B5AA7B42A92BE9FF953D8EBD0100000031F0DEAE4ACE29A81
CFD8E7399F19B9858EC1219B0653C708A7026DBB33D20F6&value2=00DE5502B
AA7B42A92BE9FF953D8EBD010000003D122C3E9E137C249558532EFD7DCCA18
EA0BFA314875216DF3C6D5585B63.
ชัยยุทธ คำคุณ. (2560). แนวทางการพัฒนากระบวนการทางศุลกากรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
นฤเบศวร์ ทองแดง. (2552). การเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ภายในประเทศ ทางถนน ทางราง และชายฝั่ง. วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นีรนุช คชวงศ์ และศักดิ์ชาย รักการ. (2564). การลดต้นทุนในธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 1(1), 39-52.
พิทักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์. (2563). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านระบบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าของสำนักงานศุลกากรที่ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(1), 69-79.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2562). การค้าระหว่างประเทศของไทย 2562 Foreign Trade of Thailand 2019. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565, จาก: https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThBalanceYearly.
สโรชา สาตร์บำรุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ กรณีศึกษา งานสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Finke, S., & Kotzab, H. (2017). An inland-depots-for-empty-containers-model for the hinterland. Maritime Business Review, 2(2), 126-141. https://doi.org/10.1108/MABR-10-2016-0030.
Islam, S. (2017). Empty truck trips problem at container terminals. Business Process Management Journal, 23(2), 248-274. https://doi.org/10.1108/BPMJ-06-2015-0086.
Islam, S., & Olsen, T. (2013). Truck-Sharing challenges for hinterland trucking companies A case of empty container truck trips problem. Business Process Management, 20(2), 290-334.
Lun, V., Lai, K.-h., & Cheng, T. C. E. (2010). Shipping and Logistics Management. London: Springer. https://doi.org/10.1007/978-1-84882-997-8.
Rodrigue, J.-P., & Notteboom, T. (2009). The Terminalization of Supply Chains: Reassessing the Role of Terminals in Port/Hinterland Logistical Relationships. Maritime Policy & Management, 36(2), 165-183. https://doi.org/10.1080/03088830902861086.
Saeed Nooramin, A., Reza Ahouei, V., & Sayareh, J. (2011). A Six Sigma framework for marine container terminals. International Journal of Lean Six Sigma, 2(3), 241-253. https://doi.org/10.1108/20401461111157196.
