ฮามาส: กำเนิด โครงสร้าง และอุดมการณ์

ผู้แต่ง

  • อับดุลรอนิง สือแต Ph.D. (West Asian Studies), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซาฝีอี อาดำ Ph.D. (West Asian Studies), อาจารย์ประจำหลักสูตรตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ฮามาส, กำเนิดฮามาส, โครงสร้างฮามาส, อุดมการณ์ฮามาส

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการทั่วไป ใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง  1) ความเป็นมาของฮามาส 2) โครงสร้างของฮามาส และ 3) อุดมการณ์ของฮามาส และพยายามอธิบายว่าอุดมการณ์ฮามาสตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้างจากการศึกษาพบว่า:

1) ฮามาสเป็นขบวนการที่วิวัฒนาการต่อเนื่องมาจากขบวนการภราดรภาพมุสลิมที่เคลื่อนไหวฟื้นฟูอิสลามมาช้านาน ทั้งสองมีฐานมวลชนที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายและบทบาทในการรณรงค์ต่อต้านอิสราเอลและเรียกร้องดินแดนที่ถูกยึดครองกลับคืนมา เพียงแต่ฮามาสเป็นการต่อยอดที่เข้มข้นยิ่งขึ้นในด้านปฏิบัติการต่อต้านและต่อสู้กับรัฐอิสราเอลมาตั้งแต่แรกเริ่ม 2) ในด้านโครงสร้างฮามาสมีประสบการณ์การจัดการองค์กรและการต่อสู้กับอิสราเอลมายาวนาน จึงมีองค์ประกอบแบบรัฐค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเมือง ฝ่ายเศรษฐกิจ (ฝ่ายการกุศล) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายกิจการทหาร นอกจากนี้ ยังมีหน่วยรบอิซซัดดีน อัลก็อซซาม หน่วยงานลับ และหน่วยคอมมานโด ทุกฝ่ายปฏิบัติการแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดครองกลับคืนมาและฟื้นฟูระบอบอิสลามในปาเลสไตน์  ในปี ค.ศ. 2006 ฮามาสได้รับชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกาซ่าและเวสต์แบงก์เป็นครั้งแรก จึงได้จัดตั้งรัฐบาล แม้รัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพเนื่องจากความขัดแย้งและแตกแยกภายในอย่างรุนแรงก็ตาม แต่ฮามาสก็สามารถตั้งสำนักงานปกครองแห่งชาติปาเลสไตน์ขึ้นได้ในเขตกาซ่า พัฒนาการทางการเมืองใหม่นี้ได้ส่งผลให้โครงสร้างขบวนการเปลี่ยนไปในลักษณะที่ก้าวหน้า ซับซ้อน พร้อมกับมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น  3) ในด้านอุดมการณ์ ฮามาสไม่ได้เป็นศัตรูกับชาวยิวสืบเนื่องจากศาสนา แต่เพราะฮามาสมองอิสราเอลด้วยความเชื่อพื้นฐานว่าอิสราเอลได้เข้ายึดครองดินแดนที่เป็นของชาวปาเลสไตน์และอิสลามมาแต่เดิม การยอมรับอิสราเอลคือการปฏิเสธความถูกต้องของอุดมการณ์ของตนเองที่ไม่อาจอ้างความชอบธรรมได้ในอิสลาม ฉะนั้นฮามาสจึงใช้วิธีการญิฮาดในการต่อสู้กับยิวไซออนิสต์และอิสราเอล

References

จรัญ มะลูลีม. (2552). “การเมืองอิสลามในโลกมุสลิม: ขบวนการฮามาส” ในรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี / รัฐศาสตร์สาร 30 ปี (เล่ม 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2532). “ปาเลสไตน์” ใน เอเชียรายปี 2532/1989. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮาฟิส สาและ. (2549). “เส้นทางการเมืองของฮามาส: ภาพสะท้อนการเมืองอิสลามในปาเลสไตน์” ใน เอเชียปริทัศน์. ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2549 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akhbarzadeh, Shahram (Ed.). (2012). Routledge Handbook of Political Islam. London and New York: Routledge Taylor and Francis Group.
Broning, Michael. (2011). The Politics of Change in Palestine, New York: Pluto Press.

Hamas. The Covenant of The Islamic Resistance Movement 1988. Article 6, Article 9, Article 11, Article 12, Article 13, Article 15, Article 21, Article 22.

Majeed, Akhtar (Ed.). (1996). Encyclopaedia of West Asia. Aligarh: Centre of West Asian Studies, Aligarh Muslim University Press.

Majeed, Akhtar. (1996). West Asia: An Introduction. Aligarh, India: Centre of West Asian Studies, Aligarh Muslim University.

McGregor, Andrew. “Jihad and the Rifle Alone: ‘Abdullah ‘Azzam and the Islamist Revolution,” in The Journal of Conflict Studies (Fall 2003), Fredericton and Saint John: University of Brunswick.

Nüsse, Andrea. (1998). Muslim Palestine: The Ideology of Hamas. Amsterdam: Hardwood Academic Publishers.

Shaul Mishal and Avraham Sela. (2000). The Palestinian Hamas: Vision, Violence and Coexistence. New York: Columbia University Press.

Shehatah, Samer S (Ed.). (2012). Islamist Politics in the Middle East. New York: Routledge.

Usher, Grahem. “Hamas Rising” in Middle East International, no 686, 25 October 2002.

Ziad Abu-Amr. (1994). Islamic Fundamentalism in the West Bank and Gaza: Muslim Brotherhood and Islamic Jihad. Indiana: Indiana University Press.

Harakah al-Muqawamah al-Islamiyyah in www.hamas.ps - retrieved 11 May 2017.

http://en.m.wikipedia.org/w/index.php?title=Special:UserLogin&returnto=Palestine+legislati +election2%2C+2006 - retrieved 5 June 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2017