การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือ สิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • บทความที่มีผู้เขียนสองท่านขึ้นไปต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เขียนทุกท่านในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • การอ้างอิงในบทความและการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
  • ประเภทและความยาวบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์
    1.บทความวิจัย 8-15 หน้า
    2.บทความวิชาการ 8-15 หน้า
    3.บทวิจารณ์หนังสือ 2-5 หน้า
  • ให้ผู้เขียนปฏิบัติตามคำแนะนำรูปแบบ (Format) การเตรียมบทความสำหรับวารสารอิสลามศึกษาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นบทความของท่านอาจจะไม่ถูกพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำแนะนำผู้แต่ง

                         เกณฑ์หลักที่ต้องมีในบทความวิชาการและบทความวิจัย

1

ชื่อเรื่อง

หัวข้อต้องปรากฏทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ

2

ชื่อผู้เขียน

ต้องเขียนให้ครบทุกคน โดยที่ไม่ต้องใส่คำนำหน้านามหรือตำแหน่งทางวิชาการใด ๆ ให้พิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3

วุฒิการศึกษา

ให้ใส่วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) สังกัดของผู้เขียนครบทุกคน พิมพ์ไว้ตรงเชิงอรรถมุมซ้ายล่าง เช่น Ph.D. (การบริหารการศึกษา) รองศาสตราจารย์ประจําสาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อีเมล: niloh.w@psu.ac.th

4

อีเมล

อีเมลของผู้เขียนหลักให้พิมพ์ไว้ด้านล่างชื่อเรื่องส่วนอีเมลผู้เขียนที่เหลือให้พิมพ์หลังสังกัดของผู้เขียน

5

บทคัดย่อ

ต้องมีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาว ไม่เกิน 300 คำ บทคัดย่อให้อธิบายตามหัวข้อที่กำหนดดังนี้

จุดประสงค์ ………………………………………………………………………………..

วิธีการศึกษา ………………………………………………………………………………..

ผลการศึกษา ………………………………………………………………………………..

การนำผลวิจัยไปใช้ ………………………………………………………………………

6

คำสำคัญ

Keyword

ให้ผู้เขียนกำหนดคำสำคัญ (Keywords) สำหรับทำดัชนี เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือภาษาที่เขียนบทความจำนวน 3 - 5 คำ

7

หน้ากระดาษ

และขนาดฟ้อนท์

ใช้ฟ้อนท์ TH Sarabun New

- ขนาดกระดาษ A4 ระยะขอบทั้งสี่ขอบ 2.54 ซม.

- หัวข้อขนาด 18 พ้อยท์ ตัวหนา

- หัวข้อย่อยขนาด 16 พ้อยท์ตัวหนา

- เนื้อหาทั้งหมดขนาด 16 พ้อยท์ ตัวธรรมดา

8

                   เนื้อหาในบทความ

บทความวิจัย

บทความวิชาการ

บทนำ นำเสนอความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมหรือการตรวจสอบเอกสาร (Literature Review)

บทนำ นำเสนอความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมหรือการตรวจสอบเอกสาร (Literature Review)

จุดประสงค์ นำเสนอจุดประสงค์ที่สอดคล้องกับบทความที่นำเสนอ

จุดประสงค์ นำเสนอจุดประสงค์ที่สอดคล้องกับบทความที่นำเสนอ

วิธีการศึกษา อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการวิจัยโดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิจัย

เนื้อหาในบทความ นำเสนอเนื้อหาตามหลักวิชาการ ข้อมูลมีความทันสมัยและตรวจสอบได้

ผลการศึกษา นำเสนอผลลัพธ์หรือคำตอบของงานวิจัยที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษาวิจัย

ข้อสรุป สรุปประเด็นสำคัญ มีความกระชับและเข้าใจง่าย

อภิปรายและสรุปผลการศึกษา ให้ผู้เขียนเน้นสรุปผลการวิจัยแบบกระชับ และอภิปรายข้อค้นพบที่สำคัญของงาน วิจัย โดยการวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นสาเหตุของผลการวิจัยที่สอดคล้องกับบทนำ

กิตติกรรมประกาศ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ โดยการกล่าวขอบคุณหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัยจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี (ถ้าไม่มีไม่ต้องเขียนหัวข้อนี้)       

ข้อเสนอแนะ นำเสนอข้อเสนอแนะวิธีการนำผลวิจัยไปใช้ หรือข้อจำกัดในการนำผลวิจัยไปใช้

เอกสารอ้างอิง (References) เขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ APA 7th Edition เอกสารอ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดตามรายละเอียดที่แจ้งในหัวข้อ การอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง (References) เขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ APA 7th Edition เอกสารอ้างอิงภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดตามรายละเอียดที่แจ้งในหัวข้อ การอ้างอิง

 

9

การนำเสนอตาราง

กรณีมีตาราง ให้ระบุเลขตารางก่อน และต่อด้วยชื่อตารางตั้งกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยให้เรียงตารางตามลำดับ ตารางที่ 1........ ตารางที่ 2......... ตารางที่ 3......  ในกรณีที่มีแหล่งอ้างอิงให้ผุ้เขียนระบุแหล่งอ้างอิงตามหลักการเขียนอ้างอิงในบทความ วางไว้ด้านล่างรูปภาพ ดังตัวอย่างด้านล่าง

10

การนำเสนอรูปภาพ

ให้ผู้เขียนระบุลำดับของรูปภาพไว้ด้านล่างรูปภาพตรงกึ่งกลาง ถ้ามีแหล่งอ้างอิงให้ระบุชื่อผู้แต่งอ้างอิง ดังตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างการใส่ตาราง

                                             ตารางที่ 1 นักศึกษาคณะวิทยาการอิสลาม

[xxxxxx]

[xxxxxx]

[xxxxx]

[xxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

[xxxxxxxxxx]

                                                         ที่มา ยาฮารี กาเซ็ง (2545)

 

ตัวอย่างการใส่รูป

                                               

                                            รูปที่ 1 คณะวิทยาการอิสลาม ที่มา อัซมิง เซะ (2555)

 

                                         การเขียนอ้างอิงในบทความตามรูปแบบ APA (7th ed.)

1. การอ้างอิงในบทความ

กรณีที่ผู้นิพนธ์ต้องการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องให้ผู้นิพนธ์เขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

          1.1 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้ 

          1.2 กรณีมีชื่อผู้แต่งเพียงคนเดียว ให้เขียนดังนี้

          สกุล (ปี) หรือ (สกุล, ปี)

          ตัวอย่าง Assalihee (2018) รายงานว่า............. หรือ ............ (Suetea, 2015)

          1.3 กรณีที่มีชื่อผู้แต่งสองคนให้เขียนดังนี้

          สกุล and สกุล (ปี) หรือ (สกุล & สกุล, ปี)

          ตัวอย่าง Waehama and Katih (2017) พบว่า......... หรือ ......... (Sabuding & Kaseng, 2020)

          1.4 กรณีที่มีชื่อผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป ให้เขียนนามสกุลเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย et al. (ตัวเอียง) ต่อท้าย

          สกุล et al. (ปี) หรือ (สกุล et al., ปี)

          ตัวอย่าง Waeuseng et al. (2010) กล่าวว่า......... หรือ ......... (Waeuseng et al., 2010)

          1.5 บทความที่มาจากการสัมภาษณ์ ให้เขียนชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ดังนี้

          อักษรย่อชื่อ สกุล (personal communication, เดือน วัน ปี)  หรือ

          (สกุล, อักษรย่อชื่อ, personal communication, เดือน วัน ปี)

          ……………. U. Rajniyom (personal communication, July 26, 2012)

          ……………. (Smith, A., personal communication, January 14, 2018)

2. การเขียนอ้างอิงในส่วนท้ายบทความ

*เครื่องหมาย \ ในรูปแบบ หมายถึง เว้นวรรค 1 ระยะ

 

2.1 หนังสือ (ชื่อเรื่องให้เอน)

วิธีการเขียน     

นามสกุล,\อักษรย่อชื่อ.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\(ครั้งที่พิมพ์).\สำนักพิมพ์.

*ในกรณีที่มีผู้เขียน 2-20 คนให้ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคน และใส่เครื่องหมาย & คั่นระหว่างชื่อ

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Tianput, D. (2008). Bō̜rihān khonnai thotsawat nā [Manage people for the  next decade]. (4th ed.). Expernet.

อ้างอิงต้นฉบับ

ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เอ็กซเปอร์เน็ท.

 

2.2 วารสารวิชาการ (ชื่อวารสารและปีที่ ใช้ตัวอักษรเอน)

วิธีการเขียน       

นามสกุล,\อักษรย่อชื่อ.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร.\ปีที่(ฉบับที่),\เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร.\URL(ถ้ามี)

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Jehlong, A. (2017). A Study of the 21st Century Learning Skills of Students in Higher Education Institutions of the Southern Border Provinces. Journal of Islamic studies Prince of Songkla University. 8(2), 1-17.

อ้างอิงต้นฉบับ

อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง. (2560). การศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 8(2), 1-17.

 

2.3 ผู้แต่งเป็นสถาบัน สมาคม องค์กร สโมสร ฯลฯ (ชื่อเรื่องให้เอน)

วิธีการเขียน       

ชื่อเต็มสถาบันหรือหน่วยงาน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง(พิมพ์ครั้งที่).\สำนักพิมพ์.\URL(ถ้ามี)

*(ถ้าสถาบันเป็นผู้จัดพิมพ์ ให้ลงคำว่า Author ในส่วนของสำนักพิมพ์)

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Office of the Education Council. (2516). National Education Plan 2017-2036. Author.

อ้างอิงต้นฉบับ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ผู้แต่ง.

 

2.4 วิทยานิพนธ์ (ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรเอน) กรณีอยู่ในฐานข้อมูลให้ระบุฐานข้อมูลด้วย

วิธีการเขียน       

ชื่อสกุล,\อักษรย่อชื่อ.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อวิทยานิพนธ์\[Doctoral dissertation or Master’s thesis].\ชื่อเว็บไซต์.\URL

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Tohtayong, R. (2007). Zakat management of the Provincial Islamic Council and Islamic Committee of the Mosque in the three southernmost provinces of Thailand   [Master’s thesis]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6288

อ้างอิงต้นฉบับ

รอมลี โต๊ะตันหยง. (2550). การจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6288

 

2.5 บทความสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ (Proceedings/conference papers)

(ชื่อหัวข้องานและชื่องานประชุมใช้ตัวอัษรเอน)

วิธีการเขียน           

ชื่อสกุล,\อักษรย่อชื่อ.\(ปีพิมพ์).\ชื่อบทความ.\In\ชื่อบรรณาธิการ\(Ed. หรือ Eds.),\ชื่อหัวข้อการประชุม.\ชื่อการประชุม\(pp.\เลขหน้า).\ฐานข้อมูล.

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Langputih, S. (2020). Holistic Personality Development of Teachers from Mu’allim Rabbani’s Perspective In Abdulroning Suete (Ed.), Islamic and Muslim studies in 21st century:  Challenges in the New Normal Era. The 5th National Conference on Islamic and Muslim Studies 2021 (pp. 616-640). Faculty of Islamic Sciences, Prince of Songkla University.

อ้างอิงต้นฉบับ

สุวรรณี หลังปูเต๊ะ. (2563). การพัฒนาบุคลิกภาพผู้สอนแบบองค์รวมตามแนวทางมุอัลลิมร็อบบานีย์. ใน อับดุลรอนิง สือแต (บ.ก.), อิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษาในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในยุค New Normal. ประชุมวิชาการระดับชาติด้านอิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษา ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 (น. 616-640). คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์.

 

2.6 การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรเอน)

วิธีการเขียน       

สกุล,\อักษรย่อชื่อผู้เขียน.\(ปี,\เดือน\วันที่เผยแพร่).\ชื่อเรื่อง.\ชื่อเว็บไซต์.\URL

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Muhammad, M. (2017, January 5). rawāng kānchai chīwit phư̄a tonʻēng kap kānchai chīwit phư̄a [Between living for oneself and living for umah]. The Ustaz https://www.theustaz.com/?p=5150

อ้างอิงต้นฉบับ

มัซลัน มูฮำหมัด. (2560, 5 มกราคม). ระหว่างการใช้ชีวิตเพื่อตนเองกับการใช้ชีวิตเพื่ออุมมะฮ์. The Ustaz. https://www.theustaz.com/?p=5150

 

2.7 การอ้างอิงจากบทในหนังสือรวมเรื่อง รูปแบบ (ชื่อหนังสือรวมผลงานใช้ตัวอักษรเอน)

วิธีการเขียน       

นามสกุล,\อักษรย่อชื่อผู้เขียน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่องหรือชื่อบท.\In\ชื่อบรรณาธิการ ถ้ามี (Ed. หรือ Eds.), ชื่อหนังสือ\(pp.\เลขหน้าที่ปรากฏบทความ). สำนักพิมพ์.

ตัวอย่างการแปลอ้างอิง

Japakiya, I. (2015). Islam and peace. In sīsomphop čhitphiromsī (Ed.), kān plīan phān thāngkān mư̄ang læ kānsư̄sān phư̄a sāng santiphāp: nǣokhit læ prasopkān (p. 90-100). Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD).

อ้างอิงต้นฉบับ

อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา. (2558). อิสลามกับสันติภาพ. ใน ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี (บ.ก.), การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการสื่อสารเพื่อสร้างสันติภาพ: แนวคิดและประสบการณ์ (น. 90-100). สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม.

 

หมายเหตุ

1. การเขียนชื่อผู้แต่งในภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล ต่อด้วยอักษรแรกของชื่อ ดังตัวอย่าง อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษ Japakiya, I.

2. ชื่อเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้อักษรตัวใหญ่เฉพาะตัวแรก และชื่อเฉพาะเท่านั้น

3. กรณีไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ในตัวเล่ม ให้ใส่คำว่า n.p. มาจากคำว่า no publisher หมายถึง ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์

4. ไม่อนุญาตให้อ้างอิงแหล่งอ้างอิงที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

 

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ได้ดำเนินการกรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้น
และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือแก่บุคคลอื่น