การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสภาวะความชุกโรคเรื้อนต่ำเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของการให้บริการของโรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

กฤศน์วัต สมหวัง
บุษบัน เชื้ออินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความพร้อม และความเหมาะสมของโรงพยาบาลแม่สะเรียงที่เสนอเป็นโรงพยาบาลเชี่ยวชาญโรคเรื้อน พัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสภาวะความชุกโรคเรื้อนต่ำ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ สถานที่ศึกษาวิจัย โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน วิจัยระยะที่ 1วิเคราะห์สถานการณ์และประเมินผลศักยภาพ เลือกพื้นที่ สำรวจความคิดเห็น พัฒนาศักยภาพ นิเทศ ระยะที่ 2 พัฒนาระบบส่งต่อ ประเมินประสิทธิผลการรักษา ต้นทุน ความพึงพอใจ ระยะเวลาการศึกษา 5 ปี ตั้งแต่ เมษายน 2555 - มีนาคม 2560 ประชากรศึกษาได้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนระดับต่าง ๆ จำนวน 18 คน ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่กำลังรักษา หรือรักษาครบแล้วที่ยังอยู่ในระยะเฝ้าระวังทุกคน จำนวน 5 คน ญาติผู้ป่วยโรคเรื้อน ผู้ป่วยโรคผิวหนังอื่น ๆ ณ วันที่ไปสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกคน จำนวน 10 คน เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน และแบบบันทึกการตรวจประเมินความพิการ มีการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเรื้อน      ผลการตรวจสอบมีคุณภาพสูง มีความสอดคล้องกัน การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ และ          เชิงปริมาณ ได้รับอนุมัติทางจริยธรรม


          ผลการวิจัยพบว่า


          โรงพยาบาลแม่สะเรียงมีความพร้อมและเหมาะสมที่จะเป็นสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อน เป็นจุดให้บริการสำหรับคนไทยและต่างด้าวได้ ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระดับต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยโรคเรื้อนเห็นด้วยต่อรูปแบบใหม่ของเครือข่ายบริการ ซึ่งรูปแบบใหม่นี้ได้มีการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงในพื้นที่ที่ยังมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่อย่างต่อเนื่องในรอบห้าปีที่ผ่านมา ให้บริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนตามมาตรฐานการกำจัดโรคเรื้อน ส่วนบุคลากรสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้รับการฝึกอบรมคัดกรองผู้มีอาการสงสัยโรคเรื้อน ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคเรื้อนจะถูกส่งตัวจากหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังโรงพยาบาลเชี่ยวชาญโรคเรื้อน รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม ส่งเสริมประสิทธิผลที่ดีต่อรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อน โดยการประเมินประสิทธิผลของการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อน วินิจฉัย รักษา ป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพของสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อนพบว่าอยู่ในระดับที่ดี การประเมินต้นทุนประสิทธิผลของเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนแบบใหม่ต่ำกว่าแบบเก่าประมาณ ร้อยละ 40 การประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายบริการสุขภาพในระดับต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเรื้อนและญาติ หรือผู้ป่วยโรคผิวหนังอื่น ๆ ต่อรูปแบบของเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนระดับดี ข้อเสนอแนะควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพด้านโรคเรื้อนให้ได้มาตรฐานงานโรคเรื้อนอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนกระบวนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์โรคเรื้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2537). งานโรคเรื้อนในแผนการพัฒนาสาธารณสุข (ฉบับที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฉลวย เสร็จกิจ และคณะ. (2552). ความล่าช้าในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเรื้อน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันราชประชาสมาสัย. (2552). แผนยุทธศสาตร์โรคเรื้อน 2553 - 2557. สมุทรปราการ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันราชประชาสมาสัย. (2553). คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศสนาแห่งชาติ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันราชประชาสมาสัย. (2561). สถานการณ์โรคเรื้อน 2507 - 2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.