กระบวนการพัฒนาคนชายขอบ (คนไร้บ้าน) ของเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

บุญรัตน์ ครุฑคง
พระครูปริยัติคุณาวุธ .
ประสิทธิ์ พันธวงษ์
ณัฐทิตา ทองช่วย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาคนชายขอบ (คนไร้บ้าน) ของเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาการเรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคมของคนชายชอบ (คนไร้บ้าน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเป็นคนชายชอบ (คนไร้บ้าน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) นำเสนอผลที่ได้ต่อเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยสัมภาษณ์และสงเกตการร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักพัฒนาสังคม นักวิชาการจำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย คนชายขอบ (คนไร้บ้าน) 12 คนรวมทั้งหมด 17 คน นำเสนอผลวิจัยโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่า


          กระบวนการพัฒนาคนชายขอบ (คนไร้บ้าน) ของเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งประกอบด้วยประเด็นหลักดังนี้ 1) การเรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคมของคนชายชอบ (คนไร้บ้าน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า มีประเด็นหลัก 4 ประเด็นดังนี้ (1) วิถีชีวิตของคนชายขอบ มี ปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย (1.1) ความต้องการที่เขารู้ว่าต้องการอะไร แต่ทำเองไม่ได้เพราะขาดความรู้และประสบการณ์ (1.2) ความต้องการที่เขาไม่รู้สึกว่าเขาต้องการเพราะความเคยชิน        (1.3) ความต้องการที่เขาไม่รู้ว่ามี (2) พฤติกรรมของคนชายชอบ พบว่า ส่วนใหญ่มีอาการป่วยทางจิต (3) การรับรู้ข่าวสารของคนชายขอบ พบว่า ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการได้สิทธิอันพึงได้ของตนเอง (4) การปฏิสัมพันธ์ของคนชายขอบกับคนรอบข้างสะท้อนให้เห็นภาวะที่ซับซ้อนของสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบัน 2) พฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเป็นคนชายขอบ (คนไร้บ้าน) พบว่า มีประเด็นหลัก 2 ประเด็นดังนี้ (1) ความเป็นมาของคนชายขอบโดยตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งคนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มของคนหาย กลุ่มที่ 2 กลุ่มของคนป่วยทางจิต หรือจิตเวช (2) พฤติกรรมที่แสดงออกต่อสังคม พบว่า ผู้คนในสังคมพร้อมที่จะไม่ใส่ใจกับคนชายขอบเพราะไม่ข้องเกี่ยวและไม่สำคัญ สภาพการณ์เช่นนี้เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงต่อคนชายขอบ 3) นำเสนอกระบวนการพัฒนาคนชายขอบ (คนไร้บ้าน) ของเครือข่ายประชาสังคมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี “Team One Home ศูนย์ช่วยเหลือสังคม” หน่วยงานที่ปฏิบัติร่วมการประสานเครือข่ายเชื่อมโยงกระบวนพัฒนาคนชายขอบในอนาคตต่อไป ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ (1) การจัดสวัสดิการสังคม (2) การส่งเสริม สร้างสมรรถภาพ ทางร่างกายและจิตใจ (3) การรักษาพยาบาล (4) การส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ (5) การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างโอกาสในสังคม (6) การพัฒนาคุณภาพชีวิต (7) การสนับสนุนให้คนไรที่พึ่ง (8) การสนับสนุนให้คนไร้ที่พึ่งมีที่พักอาศัย (9) การป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนไร้ที่พึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจฐเชต ไกรวาส และคณะ. (2559). สถานการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการในชุมชน. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 20-30.

จักรพันธุ์ โอฬาริกชาติ. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 45-55.

ปริตรตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2545). ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับความหมาย เอกสารวิชาการลำดับที่ 24. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มนุษวิทยาสิรินทร.

พงศธร สรรคพงษ์. (2560). นไร้บ้านที่ทอดทิ้งครอบครัว ศึกษาเฉพาะกรณี คนไร้บ้านในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารสังคมศาสตร์, 29(2),39-70.

พุทธทาสภิกขุ. (2560). ภาพลิ้นงูอยู่ในปากงู. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/Aug-saraporn/2012/01/13/entry-

สาณุรักษ์ ฟ่องวาริน. (2559). กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ: ศึกษาเฉพาะกรณีคนขอทานในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 2 สิงหาคม 2559 จาก www. sccthailand.org

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2549). การต่อสู้เพื่อความเป็นคนของคนชายขอบในสังคมไทยมองลอดความรู้ รวมบทความเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.