การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุไทยมุสลิม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

Main Article Content

กิตติพร เนาว์สุวรรณ
ภาวดี เหมทานนท์
จิตฤดี รอดการทุกข์
อัญชนา วิชช์วัฒนางกูร
นรานุช ขะระเขื่อน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุไทยมุสลิม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำแนกตามอายุ เพศ ความพอเพียงของรายได้ การรับรู้สุขภาพตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปที่นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยในเขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 159 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา IOC ระหว่าง .67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .894 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t –test และสถิติ One-way ANOVA ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe


          ผลการวิจัยพบว่า


          ผู้สูงอายุไทยมุสลิม 7 จังหวัดตอนล่าง ที่มีเพศและความพอเพียงของรายได้ต่างกัน มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุเพศชาย และผู้สูงอายุที่มีรายได้พอเพียงมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากกว่า ผู้สูงอายุไทยมุสลิม กลุ่ม 60 – 70 ปี มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุไทยมุสลิมที่รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพดีมากเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


          ผู้สูงอายุไทยมุสลิม เพศชาย มีรายได้ที่พอเพียง กลุ่มอายุ 60 – 70 ปี และกลุ่มที่มีการรับรู้ภาวะสุขภาพดีมาก มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรศึกษาหาแนวทางสำหรับการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุไทยมุสลิมในกลุ่มอื่น ๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิตผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2560. เรียกใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.dop. go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf

การียา ยือแร และคณะ. (2553). การส่งเสริมการออกกําลังกายตามหลักศาสนาอิสลามในกลุ่มแม่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 5(9), 83-96.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และมาริสา สุวรรณราช. (2561). สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง. สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา.

จรัญญา วงษ์พรหม. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(3), 41-53.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 6-28.

ฉัตรฤดี ภาระญาติ. (2558). ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชญานี ไมเออร์. (2552). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 1(1), 92-109.

นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. Journal of Medicine and Health Sciences, 21(1), 37-44.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สรวงสุดา เจริญวงศ์ และคณะ. (2561). สถานการณ์การดูแล และความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 231–246.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 349-376.

สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(30), 31-48.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข และคณะ. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรครื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 16-26.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences. New York: Academic Press.

Keltner, N. L., & Steele, D. . (2015). Psychiatric Nursing. (7th ed.) . Missouri: ELSEVIER MOSBY.

Neugarten, B. L. (1968). Middle Age and Aging: a Reader in Social Psychology . Chicago: The University of Chicago Press.

United Nation. (2015). World Population Ageing 2013. New York: United Nations Department of Economic and Social Affairs.

Walter, S. (1999). Holistic health. American Holistic Health Association. Retrieved November 20, 2018, from https:// ahha. org/selfhelp-articles/holistic-health/

Yeerae, N. (2010). Promoting Islamic Exercise In Pattani Housewives Group. In Master of Science Health System Research and Development. Prince of Songkla University Thailand.