ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัย ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เตชภณ ทองเติม
จีรนันท์ แก้วมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารของพระภิกษุ สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 523 รูป ได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัด ศรีสะเกษ พบว่า ตัวอย่างพระภิกษุสูงวัย มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 9.82, S.D. = 1.91) มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 39.78, S.D. = 4.46) และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 44.26, S.D. = 4.89)

          2. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภค และการมีโรคหรือปัญหาสุขภาพ ที่เป็นเรื้อรังนานเกิน 6 เดือน โดยทั้งสองตัวแปรร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 26.3 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการบริโภคอาหารของตัวอย่างพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบริโภคอาหารที่ถูกต้องแด่พระภิกษุสงฆ์สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากผลการศึกษาที่พบว่าพระภิกษุสงฆ์สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษมีระดับทัศนคติด้านการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเชิงลึกจะพบว่า ค่อนไปทางระดับที่ไม่ดี และตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารถือเป็นตัวแปรเชิงบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัตพิชา เขียววิจิตร และพิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 7(กรกฎาคม), 130-145.

นัทธพงศ์ ลัทธพินันท์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของพระภิกษุไทย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัยนา ยอดระบำ และคณะ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการถวายอาหารสุขภาพแด่พระสงฆ์ ของประชาชนอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารสุขศึกษา, 36(1), 51-64.

ปัณณธร ชัชวรัตน์ และสมานจิต ภิรมย์รื่น. (2557). รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 8(1), 167-178.

ปิติณัช ราชภักดี และภาวิณี ศรีสันต์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 199-207.

พระกิตติญาณเมธี และคณะ. (2561). การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 94-107.

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-129.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

วัชรินทร์ ออละออ. (2557). สุขภาพพระสงฆ์ในบริบทชุมชนอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยสังคม, 37(2), 89-124.

ศนิกานต์ ศรีมณี และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์และพฤติกรรม การถวายภัตตาหารของประชาชน ในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ศิวิไล โพธิ์ชัย. (2561). ผลการตรวจสุขภาพประจำปีของพระภิกษุ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอพยุห์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 23(3), 659-668.

ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต และคณะ. (2555). สุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2561 จาก http://guideubon.com/ news/view.php?t= 115&s_id=472&d_id=472

สนธนา สีฟ้า. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2560). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการในชุมชน กึ่งชนบทจังหวัดอุบลราชธานี. ใน รายงานการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อลงกรณ์ สุขเรืองกูล. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร, 44(2), 38-48.

Bloom B. (1971). Mastery learning. New York: Holt Rinehart & Winston.

Cochran W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach L. J. (1990). Essentials of psychological testing 5th ed. New York: Harper Collins publishers.