รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

มนวิภา พวงลำเจียก
สมศักดิ์ บุญปู่
ระวิง เรืองสังข์
อิษยา สาธรสันติกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับสถานศึกษาปฐมวัยและ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 รูป/คน และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 379 คน การวิเคราะห์สถิติใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาของภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ 5 ด้าน มีสภาพปัญหาตามองค์ประกอบของภาวะผู้นำในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านความยืดหยุ่น 2) ด้านจินตนาการ 3) ด้านความสามารถทางสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญา 4) ด้านการแก้ปัญหาสร้างสรรค์ 5) ด้านวิสัยทัศน์

  2. พัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) หลักการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูต้นแบบ 2) วัตถุประสงค์ของการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูต้นแบบ 3) กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูต้นแบบ 4) การนำรูปแบบไปใช้ 5) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ

  3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ตามหลักโยนิโสมนสิการสำหรับสถานศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ 4) หลักโยนิโสมนสิการ 5) โครงการพัฒนาภาวะผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ ตามหลักโยนิโสมนสิการ 10 วิธีคิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

นเรศ บุญช่วย. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2542). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ โพธิ์ภักดิ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). กรอบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สุพล วังสินธุ์. (2545). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทย. วารสารวิชาการ, 5(6), 29-33.

สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อรรณพ พงษ์วาท. (2540). ผู้บริหารกับการพัฒนาศึกษา อะไร ทำไม อย่างไร. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.