การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมเพื่อวิถีชีวิตที่สมดุล ตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

สานุ มหัทธนาดุลย์
สริตา มหัทธนาดุลย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสุขภาวะองค์รวมและวิถีชีวิตที่สมดุลของมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตที่สมดุลของมนุษย์กับการเสริมสร้างสุขภาพองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์ชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นหลักทั้งทางพระพุทธศาสนาและจิตวิทยา รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 ท่านจากประเทศไทย ศรีลังกา อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แบบคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิ ผลวิจัยแสดงถึงองค์ประกอบ 4 ประการของสุขภาพซึ่งก่อให้เกิดสุขภาวะองค์รวมของชีวิต องค์ประกอบดังกล่าวมีลักษณะเด่นที่ปรากฏแตกต่างกันคือ ร่างกายรูปธรรม ศีลแห่งสังคม จิตที่สงบนิ่ง และปัญญาแห่งการตื่นรู้ ตามลำดับซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่มาจากความต้องการ 5 ชนิดของมนุษย์ที่ถูกเติมเต็มตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs theory) ได้แก่ความต้องการด้านสรีระวิทยา ด้านความปลอดภัย ด้านสังคม ด้านยกย่องนับถือ และด้านการตระหนักตนเอง เมื่อความต้องการเหล่านี้ถูกเติมเต็ม วิถีชีวิตของมนุษย์ก็จะเกิดดุลยภาพ สำหรับการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมแบ่งออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1) การสร้างเสริมสุขภาพกายด้วยหลักสันโดษ 2) การสร้างเสริมสุขภาพศีลด้วยการรักษาศีล 5 การคบกัลยาณมิตร และการประพฤติสังคหะวัตถุ 3) การสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และการบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ (MBCT) 4) การสร้างเสริมสุขภาพปัญญาด้วยสติปัฏฐาน 4 และทาง 4 สาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2555). พุทธทัศนะ: การศึกษาเพื่อความสมดุล Educating for Balance: A Buddhist Perspective. พิมพ์ครั้งที่ 4. . กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทโธ). (2551). “การศึกษาวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2556). Nation’s Most Comprehensive Dictionaries: Medical Sciences Dictionary (พจนานุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิซชิ่ง.

Gerry Melino, Knight, Richard A; and Ameisen, Jean Claude. (2010). “The Siren’s Song: This Death That Makes Life Live”, Cell Death: Encyclopedia of Life Sciences, eds. by Gerry Melino, David Vaux. Chichester: John Wiley & Sons Ltd.

Fritjof Capra. (1988). The Turning Point: Science, society and the rising culture. New York: Bantam Book.

Ilya Prigogine, Stengers, Isabelle. (1984). Order out of Chaos. New York: Bantam.

Rogers Kara (ed.). (2011a). The Human Body The Brain and the Nervous System. New York: Britannica Educational Publishing.

Rogers Kara (ed.). (2011b). The Human Body The Digestive System. New York: Britannica Educational Publishing.

Simon Collin. (2007). Dictionary of Science and Technology. 2nd ed. London: A&C Black Publishers Ltd.

Talcott Parsons . (1991). The Social System. ed. By Bryan S. Turner. London: Routledge.