สภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมทักษะการพูด เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภัสสรา จตุโชคอุดม
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
ชนิดา มิตรานันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ครูการศึกษาพิเศษ และผู้ปกครองของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนร่วม จำนวน 9 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิดที่เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลจากการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหา ปัจจุบันโรงเรียนไม่มีการส่งเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม อันเนื่องมาจากการเน้นสอนวิชาการมากกว่าการสอนวิชาทักษะ ครูการศึกษาพิเศษได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนในวิชาอื่น เพื่อให้มีภาระงานการสอนครบตามที่กำหนด และนักเรียนที่มีปัญหาในการสื่อสารเนื่องจากมีคลังคำศัพท์น้อย 2) ความต้องการ ผู้บริหารของโรงเรียนควรกำหนดนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ กำกับติดตามผลของการดำเนินการ และการจัดการเรียนการสอนครูควรเพิ่มคำศัพท์ที่จำเป็นให้แก่นักเรียน และฝึกให้นักเรียนสื่อสารด้วยประโยคที่ถูกต้อง และ 3) แนวทางการส่งเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม ควรมีวิชาหรือชั่วโมงในการสอนเกี่ยวกับทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน คือ ทักษะการบอกความรู้สึก ทักษะการปฏิเสธ และผู้บริหารของโรงเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมปรับผู้สอนให้เปลี่ยนมุมมอง แนวคิดให้มีการยอมรับในความแตกต่างของนักเรียน

Article Details

How to Cite
จตุโชคอุดม ส. ., วิบูลพัฒนะวงศ์ ก. ., & มิตรานันท์ ช. . (2025). สภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมทักษะการพูด เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนร่วม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 23–33. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286333
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). ภาษากับการสื่อสาร: Language and Communication. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จอมขวัญ สุทธินนท์. (2564). ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills). กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือการดูแลสุขภาพจิตเด็ก กลุ่มปัญหาการเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พรอสเพอรัสพลัส.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ความบกพร่องทางสติปัญญา. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2565 จาก https://www.happyhomeclinic.com/sp05-intellectual-disability.html

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2561). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณู สุขเจริญ. (2558). การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของเด็กพิเศษที่เรียนร่วมในชั้นเรียนเด็กปกติระดับอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

Beukelman, D. & Mirenda, P. (2013). Augmentative and Alternative Communication: Supporting Children & Adults with Complex Communication Needs. (4th ed.). Baltimore: Paul H: Brookes Publishing.

Cheesman, A. & Read, J. (2023). Prospective pathways from affect to drug outcomes: Refusal self-efficacy in the context of peer influences. Substance Use & Misuse, 58(12), 1587-1597.

Gernsbacher, M. et al. (2016). Language and speech in autism. Annual review of linguistics, 2(1), 413-425.

Gross, J. J. (2022). Emotion regulation: Affective, cognitive, and social consequences. Psychophysiology, 39(3), 281-291.

Nurul, H. et at. (2017). Emotional intelligence (self-awareness, self-management, social awareness and relationship management) and leadership behavior (transformational and transactional) among school educator leaders. International Journal of Educational Studies, 4(2), 37-47.

Ratcliff, A. (1999). Rationale for Preservice Training in AAC. Perspectives on Augmentative and Alternative Communication, 8(1), 3-6.

Romski, M. & Sevcik, R. (1988). Augmentative and alternative communication systems: Considerations for individuals with severe intellectual disabilities. Augmentative and Alternative Communication, 4(2), 83-93.

Salovey, P. & Grewal, D. (2005). The science of emotional intelligence. Current directions in psychological science, 14(6), 281-285.

Senouci, M. et al. (2021). Autism Spectrum as a Communication Disorder: A Case Study. African Educational Research Journal, 9(3), 687-695.

Shady, K. et at. (2024). Barriers and facilitators to healthcare access in adults with intellectual and developmental disorders and communication difficulties: an integrative review. Review Journal of Autism and Developmental Disorders, 11(1), 39-51.

Wallace, S. et al. (2008). An investigation of basic facial expression recognition in autism spectrum disorders. Cognition and Emotion, 22(7), 1353-1380.

Winter, S. (2020). Special Education: From disability to exceptionality. In Quality Education. Cham: Springer International Publishing.