การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นผู้นำ นิสิต/นักศึกษา ในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

เจนณรงค์ พินลานทุ่ม
พล เหลืองรังษี
กุลนาถ สิรินาราภัทร
บุษกรณ์ สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นผู้นำนิสิต/นักศึกษาในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ นิสิต/นักศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำนิสิต/นักศึกษาทั้งในระดับคณะ/วิทยาลัย ชมรม/ชุมนุม สภานิสิต/นักศึกษา องค์การบริหาร/องค์การนิสิต สโมสรนิสิต/นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจังหวัดสงขลา จำนวน 5 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำนิสิต/นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นผู้นำนิสิต/นักศึกษา จำนวน 5 ด้าน รวม 23 ข้อคำถาม การตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่า มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็นแบบการตอบสนองคู่ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำนิสิต/นักศึกษา ดังนี้ ด้านทักษะการทำงานเป็นทีมมากที่สุด ค่า PNImodified เท่ากับ 0.75 คะแนน รองลงมาคือด้านทักษะการเป็นผู้นำ ค่า PNImodified เท่ากับ 0.74 คะแนน และด้านทักษะมนุษยสัมพันธ์ ค่า PNImodified เท่ากับ 0.70 คะแนน ด้านทักษะการวางแผน ค่า PNImodified เท่ากับ 0.62 คะแนน ตามลำดับ โดยผลการประเมินด้านทักษะการสื่อสารมีความต้องการน้อยที่สุด ค่า PNImodified เท่ากับ 0.58 คะแนน

Article Details

How to Cite
พินลานทุ่ม เ. ., เหลืองรังษี พ. ., สิรินาราภัทร ก. ., & สุวรรณรัตน์ บ. . (2025). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความเป็นผู้นำ นิสิต/นักศึกษา ในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 169–178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286284
บท
บทความวิจัย

References

กชวรรณ บุตรกริม และคณะ. (2563). ทักษะจำเป็นในการบริหารงานของคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2567 จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/243731

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2563). ชวนทำวิจัย “ความต้องการจำเป็น” ด้วยสถิติ PNI ไม่ยากอย่างที่คิด คุณก็ทำได้. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2567 จาก https://www.salika.co/2020/08/16/priority-needs-index-part-2/

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พล เหลืองรังษี และชัดชม รัศมีมณฑล. (2566). การศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและความต้องการจําเป็นในรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(7), 246-256.

พิมพ์ชนก สีหา และสุภาวดี บาลี. (2564). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจความต้องการและความคาดหวัง. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2567 จาก https://dusitpoll.dusit.ac.th/KB/2021/594/

ภูริส ภูมิประเทศ และตรีชฎา สุขเกษม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. มนุษยสังคมสาร, 17(2), 121-139.

สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2567 จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5070/1/Fulltext.pdf

สำนักพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (2567). คำสั่งมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เรื่อง การแต่่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา คณะกรรมการนักศึกษาประจำคณะ และคณะกรรมการชมรมนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2567 จาก https://sdc.hu.ac.th/download/announce

อาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2566). การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอ.เจ.สยาม.

World Economic Forum. (2016). New vision for education: Unlocking the potential of technology. Retrieved December 25 , 2024, from https://www3.weforum.org/docs/WEF_New_Vision_for_Education.pdf