การวิเคราะห์และสร้างแบบฝึกหัดจากบทเพลง Lagrima ของ Francisco Tárrega บนกีตาร์คลาสสิก

Main Article Content

สิปปภาส ตัญจนะ
พัฒนกร หุลกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์และสร้างแบบฝึกหัดจากบทเพลง Lagrima ของ Francisco Tárrega บนกีตาร์คลาสสิก ผู้ศึกษาได้ศึกษาในประเด็นต่อไปนี้ 1) ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลประวัติความเป็นมาของบทเพลงและผู้ประพันธ์ Francisco Tárrega เป็นนักกีตาร์คลาสสิกและนักประพันธ์บทเพลงชาวสเปนที่มีชื่อเสียงในยุคโรแมนติก Tárrega ประพันธ์เพลงไว้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ระบบเบื้องต้นที่ผู้เริ่มฝึกหัดกีตาร์คลาสสิกสามารถศึกษาและฝึกฝนตามได้ไปจนถึงเพลงที่มีความซับซ้อน อีกทั้ง Tárrega เป็นผู้คิดค้นการดีดแบบพักสาย (Rest Stroke) และท่านั่งบรรเลงกีตาร์คลาสสิกโดยวางขาซ้ายบนแทนวางขาและนำกีตาร์คลาสสิกมาวางไว้ที่ขาด้านซ้ายของผู้บรรเลงเป็นท่านั่งบรรเลงที่ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน 2) วิเคราะห์บทเพลงอย่างละเอียดในประเด็น ดังต่อไปนี้ 2.1) การวิเคราะห์ Harmony ขั้นคู่เสียงและทางเดินคอร์ด 2.2) วิเคราะห์แนวทำนอง Melodic Line และ 3) มุมมองการตีความบทเพลงในฐานะผู้บรรเลง รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทเพลง ทั้งรูปแบบเทคนิคการประพันธ์และเทคนิคการบรรเลง หลักทฤษฎีทางดนตรีต่าง ๆ นำความรู้ที่ได้จากการศึกษา พัฒนาต่อยอดการสร้างเป็นแบบฝึกหัดจำนวน 5 แบบฝึกหัด โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์และสังเคราะห์มาจากการสังเกต (Observation) ศิลปินที่นำบทเพลงนี้มาบรรเลง และการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) กับผู้สอนในรายวิชากีตาร์คลาสสิกรวมถึงการมีส่วนร่วมของนักศึกษารายวิชากีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 - 4 โดยนำแบบฝึกหัดดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดในการเรียนการสอนและเพิ่มทักษะและความคล่องตัวในการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก สำหรับนักศึกษารายวิชากีตาร์คลาสสิกและผู้ที่สนใจในด้านการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกต่อไป

Article Details

How to Cite
ตัญจนะ ส. ., & หุลกิจ พ. . (2025). การวิเคราะห์และสร้างแบบฝึกหัดจากบทเพลง Lagrima ของ Francisco Tárrega บนกีตาร์คลาสสิก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(1), 162–173. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283605
บท
บทความวิชาการ

References

ชานน สืบสม. (2021). การสร้างแบบฝึกหัดกีตาร์คลาสสิกจากเทคนิคการบรรเลงของ ฟรานซิสโก ทาร์เรกา ในบทเพลงคาปริซโช อาราเบ แกรนโคตาและแวริเอชัน ออน เดอะ คาร์นิวาล ออฟเวนิซ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 31(1), 112-126.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2563). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ Form and Analysis. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

บัญชา อาษากิจ. (2560). การแต่งเพลง. สุราษฎรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมชาย รัศมี. (2559). การเรียบเรียงเพลงสมัยนิยม Arranging for Popular Music. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

Clendinning, J. P. & Marvin, E. W. (2016). The Musician's Guide to Theory and Analysis. (3rd ed.). New York: W. W. Norton & Company.

Green, D. M. (1979). Form in tonal music: An introduction to analysis. (2nd ed.). New York: Holt, Rinehart, and Winston.

Kostka, S. & Payne, D. (2013). Tonal harmony: With an introduction to twentieth-century music. (7th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Randel, D. M. (2003). The Harvard dictionary of music. (4th ed.). Massachusetts: Belknap Press of Harvard University Press.

Roig-Francolí, M. (2011). Harmony in context. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Turek, R. (1996). The elements of music: Concepts and applications. Boston: MA: McGraw-Hill.

Wade, G. (2001). A Concise History of the Classic Guitar. New York: Mel Bay Publications.