การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์แบบบูรณาการทางความคิด โดยนำไมโครเลิร์นนิงมาใช้ในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุชญา เทือกสุบรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และความต้องการการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ 3) ทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์แบบบูรณาการทางความคิด โดยนำไมโครเลิร์นนิงมาใช้ในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี มี 2 ขั้นตอน คือ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ม. 5/3, 5/4 จำนวน 90 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1) ผู้บริหาร 2) ครูนาฏศิลป์ 3) นักวิชาการ และ 4) นักเรียน จำนวน 12 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ระดับปานกลาง (equation = 3.66, S.D. = 0.43) สภาพปัญหา ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (equation = 3.41, S.D. = 0.75) และสภาพความต้องการ อยู่ระดับมาก (equation = 4.46, S.D. = 0.56) 2) ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด (equation = 4.59, S.D. = 0.49) 3) ทดลองรูปแบบด้านผลสัมฤทธิ์กลุ่มทดลองค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (equation2 = 35.70, S.D. = 4.54), (equation2 = 21.57, S.D. = 4.28) ด้านคิดแบบบูรณาการ (equation2 = 33.88, S.D. = 4.79), (equation2 = 24.24, S.D. = 4.30) ด้านทักษะปฏิบัติ (equation2 = 36.76, S.D. = 4.60), (equation2 = 29.64, S.D. = 4.44) และ 4) ผลประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในรูปแบบ ขั้นตอน กระบวนการ ความเป็นไปได้ ถูกต้องครอบคลุม และมีประโยชน์ อยู่ระดับมากที่สุด (equation = 4.59, S.D. = 0.67)

Article Details

How to Cite
เทือกสุบรรณ ส. . (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์แบบบูรณาการทางความคิด โดยนำไมโครเลิร์นนิงมาใช้ในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 312–324. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283258
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

การศึกษา 4.0. (2566). ยุคแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/VXKLN

แก้วตา เจือนาค และอารีย์ วรเตชะคงคา. (2560). การออกแบบการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณัฐดนัย เนียมทอง. (2567). มองเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล (คลังความรู้). เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2567 จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/8477-2018-07-18-04-11-25

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2566). บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2566 จาก https://www.starfishlabz.com/blog/249-บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่-21

ปรัชญา ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM ร่วมกับโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์หุ่นกระบอกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนเวียงสระ. (2567). ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนเวียงสระ. สุราษฎร์ธานี: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเวียงสระ.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sampling size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Mohammed, G. et al. (2018). The effectiveness of microlearning to improve students’ learning ability. International Journal of Educational Research Review, 3(3), 32-38.

Supaporn, C. & Supattra, P. (2020). Designing Mangrove Ecology Self-Learning Application Based on a Micro-Learning Approach. International Journal of Emerging Technologies in Learning (IJET), 15(11), 29-41.