รูปแบบการพัฒนาระบบจัดการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

อรุญ พงษ์หาญ
สมโภช รติโอฬาร

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและการจัดการเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2) พัฒนารูปแบบการจัดการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินรูปแบบและคู่มือการจัดการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม กลุ่มศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินกระบวนการระดมสมองแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) ประชากรส่วนมากในพื้นที่อำเภอจอมบึงประกอบอาชีพเกษตร ในพื้นที่ ๆ ขาดแคลนน้ำหรืออยู่ไกลจากแหล่งน้ำต้องกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรให้เพียงพอ บางพื้นที่เพาะเห็ดไม่สะดวกให้เจ้าหน้าที่ไปพ่นหมอกควันกำจัดยุง ส่วนการจัดการเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI และ CI มีค่าปกติ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม โดยการประเมินสถานการณ์ การวิเคราะห์ปัญหาการระบาด การแยกระยะการระบาดและการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคทั้งระยะก่อนการระบาด ขณะเกิดการระบาดและระยะหลังการระบาด การถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงาน และการจัดทำเป็นคู่มือการจัดการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมให้เกิดความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานการป้องกันและควบคุมโรคระบาด และ 3) การประเมินคู่มือการจัดการควบคุมป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบว่า อยู่ในระดับดีเยี่ยม

Article Details

How to Cite
พงษ์หาญ อ. ., & รติโอฬาร ส. . (2024). รูปแบบการพัฒนาระบบจัดการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(11), 126–135. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/281939
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ไข้เลือดออก. กระทรวงสาธารณสุข. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://datastudio.google.com/reporting

ฐิติชญา ฉลาดล้น และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 153-162.

นอรี ตะหว่า. (2562). การพัฒนารูปแบบส่งเสริมศักยภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 10(2), 1612-1627.

พรสุรางค์ ราชภักดี และคณะ. (2564). การประเมินประสิทธิผลทีมตระหนักรู้สถานการณ์และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 6(1), 1-10.

พลอยประกาย ฉลาดล้ำ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีส่วนร่วมของชุมชน ในตำบลบ้านกล้าย จังหวัดราชบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 324-340.

ยุทธชัย นาดอน และคณะ. (2563). การพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสาร วิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 1-12.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2564). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2), 124-132.

ศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จังหวัดสุมทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 309-319.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2565). คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ.

Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation [Rural Development Committee Center]. in International Studies. Cornell University.

Health Data Center. (2566). รายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในระบบเฝ้าระวัง (รง. 506) และการวินิจฉัยของแพทย์ในฐานข้อมูล 43 แฟ้ม. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://itjournal.moph.go.th/list/24

Pender, N. J. et al. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (5th ed). New Jersey: Pearson Education Inc.