ศึกษาเชิงวิเคราะห์ปฏิปทาของพระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติความเป็นมา ปฏิปทา และวิเคราะห์ปฏิปทาของพระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำรา งานวิจัย บทความ วารสาร และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของท่าน บวชแล้วได้ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ท่านได้รับความเมตตา อบรม สั่งสอนและปฏิบัติภาวนาโดยยึดความสงบวิเวกภาวนาเป็นสัจจะ มักน้อย สันโดษ พูดน้อยปฏิบัติมากตามหลักธุดงควัตร จนถึงการละสังขาร สิริอายุได้ 83 ปี 57 พรรษา 2) ปฏิปทาที่เด่นชัดของท่าน ได้แก่ ปฏิปทาด้านการปกครอง ปฏิปทาด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม และปฏิปทาด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน 3) ผลการวิเคราะห์ปฏิปทาของท่าน 3.1) ปฏิปทาด้านการปกครอง ท่านปกครองคณะศิษย์ด้วยการพัฒนาพระศาสนา ทั้งศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล การนำปฏิบัติศาสนธรรม และศาสนกิจ เป็นผู้นำชุมชนพัฒนาวัดให้ร่มรื่น สะอาดและสงบ 3.2) ปฏิปทาด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ท่านเป็นผู้เผยแผ่ความรู้พุทธธรรม แสดงธรรมด้วยหลักปฏิสัมภิทา แสดงธรรมไปตามขั้นตอน ไม่ว่าร้ายใคร ไม่โจมตีใคร ไม่ทำร้ายใคร และ 3.3) ปฏิปทาด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ท่านมีความสำรวมในศีลและมารยาท ยินดีในการนั่งนอนในที่สงบ และปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อความสงบตลอดเวลา ด้วยความมุ่งมั่นตามหลักสติปัฎฐาน 4 อานิสงค์เกิดเป็นความรู้แจ้งในรูป - นาม รู้ธรรมดาของชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทำให้ละอุปาทานในสิ่งทั้งปวง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนา อธิบายศัพท์และแปลความหมายคําวัดที่ชาวพุทธควรรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธวัช ธนิสฺสโร (อินทะไชย). (2549). การศึกษาชีวิตและงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภาวนาวิสุทธาจารย์ (ทองใบ ปภสฺสโร). ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระนิพล ขนฺติพโล (บัวบาน). (2561). ศึกษาเนสัชชิกังคธุดงควัตรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของพระราชสิทธาจารย์ วิ. (ทองใบ ปภสฺสโร). ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรศักดิ์ ฐานวโร (วิจิตรธรรมรส). (2558). ศึกษาวิเคราะห์ปฏิบัติกรรมฐานของสมเด็จพระอริยวงษญาณสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวโร) ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาชาญ อชิโต (สร้อยสุวรรณ). (2565). ศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของหลวงปู่ริม รตนมุนี วัดอุทุมพร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการสมนึก นรินฺโท (ฤทธิ์มาก). (2559). ศึกษาแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของพระราชนิโรธรังสี (หลวงปเทสก เทสรสี) วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอาจารย์สีทน สีลธโน. (2528). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส) วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 24 พฤศจิกายน 2528. กรุงเทพมหานคร: หจก ป.สัมพันธ์พาณิชย์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2539. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิภาวี เอี่ยมวรเมธ. (2549). ทัศนะของนักศึกษา มจธ. เกี่ยวกับผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสังคมไทย. ใน Proceedings การประชุมวิชาการ “การบูรณาการเทคโนโลยีสังคมกับชุมชน” (หน้า 83-92). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2517). มงคลยอดชีวิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.