การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม : หัวใจเศรษฐีเพื่อการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิเคราะห์การประยุกต์หลักธรรมหัวใจเศรษฐีเพื่อการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล ซึ่งการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมหัวใจเศรษฐีในยุคดิจิทัลนั้น มีความสำคัญและจำเป็นต่อคนในยุคปัจจุบัน เพราะจะทำให้ผู้ใช้หลักธรรมดังกล่าวสามารถเข้าสู่ความสำเร็จในการใช้ชีวิตประจำวัน และมีการวางแผนที่ดีในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลนี้ ซึ่งหัวใจเศรษฐี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิฏฐธัมมิกัตถ ประโยชน์ 4 ประการ คือ อุ-อา-กะ-สะ อุ ย่อมาจากอุฏฐานสัมปทา อา ย่อมาจากอารักขสัมปทา กะ ย่อมาจากกัลยาณมิตตตา และ สะ ย่อมาจากสมชีวิตา โดยมีรายละเอียดการประยุกต์ใช้หลักธรรม ดังนี้ คือ 1) อุฏฐานสัมปทา ดำเนินชีวิตด้วยความขยัน และมีรูปแบบในการดำเนินชีวิตที่เป็นระเบียบ มีปัญญาเครื่องสอดส่องทำหลายอย่างจนเกิดความชํานาญในงานที่ทำให้การงานนั้นประสบความสำเร็จได้ง่าย 2) อารักขสัมปทา รู้จักการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยจากการรู้จักคุณค่าของสิ่งของข้าวของต่าง ๆ รู้ว่าอะไรคือ สิ่งที่จําเป็นในการดำเนินชีวิต อะไรคือสิ่งที่เป็นความอยากเพราะกิเลสของตนเอง 3) กัลยาณมิตตตา มีความเข้าใจการคบหามิตร รู้จักแยกแยะคนดีคนชั่ว เลือกที่จะคบหาคนที่ดี รู้จักการดำรงตน เจรจาสนทนากับบุคคลในหมู่บ้านหรือชุมชนด้วยการเป็นมิตร และ 4) สมชีวิตา ดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียง รู้ทางหาทรัพย์และทางเสื่อมหรือทางหมดไปของทรัพย์ เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และไม่ให้ฝืดเคืองนัก รู้จักรายจ่ายจักต้องไม่ให้มากเกินกว่ารายได้ที่ได้รับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2567 จาก https://www.ops.go.th/images/2016/digital-thailand.pdf
บัณฑิต นิจถาวร. (2567). สังคมไทยเข้ายุคดิจิทัล: ความสำเร็จและการบ้านที่รออยู่. เรียกใช้เมื่อ 29 สิงหาคม 2567 จาก https://www.thaipost.net/economy-news/308500/
บุญมี แท่นแก้ว. (2639). จริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
พระมหาเจนภพ ปภาโส และคณะ. (2566). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ 4. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(1), 119-136.
พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และคณะ. (2567). “อยู่กับโลกในจอแบบดีต่อใจ” Digital Literacy เติมทักษะชีวิตใหม่ในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 31 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.the101.world/digital-literacy-for-family/
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2567). เทคโนโลยีดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2567 จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=2&l=2
สาลีวรรณ จุติโชติ และคณะ. (2564). การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข. วารสารสังคมศาสตร์บููรณาการ, 1(3), 77-88.
เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2560). อยู่อย่างคนร่วมสมัยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 161-167.