การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษากับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครูสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี จำนวน 357 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) หุ้นส่วนการศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.47) 2) สถานศึกษาเอกชนมีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.58, S.D. = 0.44) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษากับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของหุ้นส่วนการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สามารถพยากรณ์การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชนได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
= 1.086 + .769X และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
= .83* Zx
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แก้วภัทรา จิตรอักษร และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 249-261.
ชิษณุพงศ์ ทองพวง และคณะ. (2565). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลงาน การบริหารงานคุณภาพ และองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 128-140.
ชุติกาญจน์ หลวงแสน และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(9), 23-34.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
พรพินิจ ไชยลังกา และคณะ. (2559). การบริหารสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(1), 160-176.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 4-16 (19 สิงหาคม 2562).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก หน้า 1-99 (11 ตุลาคม 2542).
ศรรัก ผลาเมธากูล และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่. Journal of Inclusive and Innovative Education, 6(2), 134-148.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). สถิติการศึกษาฉบับย่อ. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/Kb6Hj
หัทยาพร แสงดี และคณะ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 120-135.
อรสา ทรงศรี และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารจันทรเกษสาร, 20(38), 143-151.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.