การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปวริศา เจริญ
กรวรรณ สืบสม
อารี สาริปา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านคอกช้าง อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิด 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เจริญ ป., สืบสม ก., & สาริปา อ. (2024). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์กำกับการรู้คิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(8), 184–192. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279864
บท
บทความวิจัย

References

ชนม์นิภา โคตะบิน และคณะ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันร่วมกับรูปแบบ การเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(24), 193-201.

โรงเรียนบ้านคอกช้าง. (2565). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนบ้านคอกช้าง ปีการศึกษา 2565. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนบ้านคอกช้าง.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2566 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

สมเจตน์ พันธ์พรม. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชันและการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุดใจ จันทร์คง. (2550). ผลของการฝึกกลวิธีอภิปัญญาที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางกะปิ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัจนา ประราชิโก. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Flood, J. & Lapp, D. (1990). Reading comprehension instruction for at-risk students: Research-based practices that can make a difference. Journal of Reading, 28(7), 490-496.

Johnson, J. C. (2009). Improving students' reading comprehension skills: Effects of strategy instruction and reciprocal teaching. Journal of Reading, 19(3), 272-286.